การพัฒนาการรับรู้ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษา โดยการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค

ผู้แต่ง

  • วาสนา พวยอ้วน สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การปรึกษากลุ่ม, เชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค, การรับรู้ความสามารถแห่งตน, ครูที่ปรึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยได้พัฒนาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและพัฒนาแบบวัดการรับรู้ ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ครูที่ปรึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาส ภาคตะวันออกจำนวน 400คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอนจากครูที่ปรึกษาระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ภาคตะวันออก ระยะที่ 2 การพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรม การปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อการรับรู้ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปรึกษาที่มีคะแนนการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 โดยวิธีสุ่มแบบหลาย ขั้นตอนแล้วตามความสมัครใจได้จำนวน 24 คน สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่ม เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน เครื่องมือในการวิจัยนี้ประกอบด้วย แบบวัดการรับรู้ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษา จำนวน 29ข้อ ที่พัฒนาในระยะที่1และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อการรับรู้ ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษา เก็บข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะ ติดตามผล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการทดสอบสมมติฐานด้วยการ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปร ภายในกลุ่ม และทดสอบ ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีทดสอบแบบนิวแมนคูลส์ผลการวิจัย พบว่า แบบวัดการรับรู้ความสามารถ แห่งตนของครูที่ปรึกษา การเป็นครูที่ปรึกษาฯ ที่ดีต้องมี7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การรับรู้การมีส่วนร่วม ตัดสินใจในโรงเรียน 2. การรับรู้การมีส่วนร่วมการดำเนินงานทรัพยากรของโรงเรียน 3. การรับรู้พฤติกรรม การสอน 4. การรับรู้การส่งเสริมวินัยในนักเรียน 5. การรับรู้การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 6. การรับรู้การมี ส่วนร่วมของชุมชน และ 7. การรับรู้การมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ดีในโรงเรียน ส่วนผลของพัฒนา โปรแกรมและศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อการรับรู้ความสามารถแห่งตน ของครูที่ปรึกษา พบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ครูที่ปรึกษาที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคมี การรับรู้ความสามารถแห่งตนในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการกรมวิชาการ. (2536).รายงานผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.).

กัญญานันท์ หินแก้ว. (2558). คุณลักษณะของครูที่ปรึกษาตามทัศนะของนักเรียนและที่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์ฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

กัลยา วานิชย์บัญชา (2551). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.

กาญจนา ไชยพันธุ์. (2549). การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

จิดาภาสุวรรณ. (2558). ผลการปรึกษากลุ่มโดยการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายเกินความจำเป็นของนิสิตปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.

ดวงมณีจงรักษ์. (2552). ทฤษฎีการให้การปรึกษาและจิตบำบัดเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น).

ธีรศักดิ์ อัครบวร. (2544). ความเป็นครูไทย. กรุงเทพมหานคร : พลพิมพ์(1996) .

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2537). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISERL) : สถิติการวิเคราะห์การวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภวรรณ ตันติเวชกุล. (2542). การวิเคราะห์อิทธิพลของภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ ตามแนวทฤษฎีการอบรมบ่มนิสัยทางวัฒนธรรมต่อเยาวชนในสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรทิพย์ พาธิมายอม. (2554). ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพ์ชนก นุชเนตร. (2561). การเรียนรู้โดยผ่านการสังเกต และพฤติกรรมเลียนแบบจากรายการเซเลบ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมลักษณ์ พรหมมีเนตร และฉันทนา จันทร์บรรจง. (2547). การกำหนดคุณสมบัติและบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษานักเรียน และการสร้างรูปแบบการบริหารงานที่ปรึกษานักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: รายงานการวิจัย. พิษณุโลก : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2561, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=2101.

อนงค์วิเศษสุวรรณ์. (2554). การปรึกษากลุ่ม. เอกสารประกอบการสอนวิชา 416621. ชลบุรี: ภาควิชาการ แนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Journal of Psychological Review. 84, pp.191-215.

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. New Jersey: Prentice Hall.

Bandura, A. (1988). Organizational applications of social cognitive theory. Australian Journal of Management. 13, pp.275-302.

Bandura, A. (1994). Self-efficacy. InV. S.Ramachaudran(ed). Encyclopedia of Human Behavior, pp.71-81.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy : The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company. Beck, A.T.

Bandura, A. (2017). Bandura’s Instrument Teacher Self-Efficacy Scale. Retrieved July 30,2017, from https://cpb-us-w2.wpmucdn.com.

Chang, C. (1995). A comparison of the effectiveness of counseling or teaching Taiwanese university students with control theory really therapy as the model of responsible behaviors and effective life control. Dissertation Abstract International. 56 (05), 1760.

Corey, G. (2004). Theory & Practice of Group Counseling. (5 th ed). Thomson Brooks/Cole.

Corey, G. (2013). Theory and practice of counseling and psychotherapy. (9th ed).Belmont, CA: Brooks/Cole, Cengage Learning.

Cronbach,L. J. (1990).Essentials of Psychological Testing. (5thed). New York: HarperCollins.

Door & Fay. (1974). “Relative power of Symbolic Adult and Models in the Modification of Children & Moral Choici Behavior” Journal of Personality and Social Psychology. 29, pp.335-341.

Glasser, W. (1965).Reality Therapy: A New Approach to Psychiatry. New York: Harper&Row.

Glasser, W.The Quality School: Managing Students Without Coercion. (2 nd ed). New York:Herper Row.

Giovazolias, T. (2005). Counseling Psychology and The Integration of Theory, Research and Practice: A Personal Account. Counseling Psychology Quarterly. 18(2), pp.161-168.

Hair Jr., J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (7 th ed). Upper Saddle River: Prentice-Hall.

Harris, M. A. C. (1993). Effect of reality therapy/ control theory on predictors of responsible behavior of junior high school students in an adolescent pregnancy prevention program. Dissertation Abstracts International. 54 (4), p.1264-A.

Lawrence, D. H. (2003).Theeffectof realitytherapygroup counselingontheself-determination of persons with developmental disabilities. Dissertation Abstract International. 64 (3), 811-A.

Onwuegbuzie, A. J. & Daniel, L. G. (1999, November). Uses and Misuses of the Correlation Coefficient. Paper Presented at the Annual Meeting of the Mid-South Education Research Association (Point Clear, Al).

Rausch, M. & Kelly. (2003). Analytic methods for questions pertaining to a randomized pretest, posttest, follow-up design. Journal al of Clinical Child & Adolescent Psychology. 32 (3), pp.467-486.

Rogers, C.R. (1942). Counseling and psychotherapy in newer concept in practice. Cambridge, MA: Houghton Miffin.

Rogers, C.R. (1952). A personal formulation of client-centered therapy. Marriage and Family Living. 14, pp.341-361.

Rogers, C.R. (1954). Becoming a person. Two lectures delivered on the Nellie Heldt lecture fund. Oberlin, OH: Oberlin.

Rogers, C.R. (1959). A theory of therapy, personality, and interpersonal relationships, as developed intheclient-centered framework. InKoch,S(Ed.),Psychology, a study of a science. Vol. III: Formulations of the person and the social context. (pp.184-256).New York, NY: McGraw-Hill.

Rogers, C.R. (1967). Psychotherapy and Personality Change. Chicago: University Press.

Rogers, C. R. & Wallen, J. L. (1946). Counseling with Returned Servicemen. New York: McGraw Hill.

Rovinelli,R. J. & Hambleton,R. K. (1977). Ontheuseof content specialists inthe assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2, pp.49-60.

Zimmerman & Rosenthal. (1974). Observational Learning of Rule Governed Behavior with Children. New York: Psychological Bulletin

Downloads