การพัฒนาอารยสถาปัตย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในชุมชนเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
อารยสถาปัตย์, ผู้สูงอายุ, เขตธนบุรีบทคัดย่อ
การพัฒนาอารยสถาปัตย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอารยสถาปัตย์เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเขตธนบุรี ประชากรที่ใช้ใน การศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ (1) ผู้นำชุมชน ประกอบด้วย ประธานแขวง ประธานชุมชน/ผู้แทนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 7 แขวง 44 ชุมชน (2) ผู้สูงอายุในชุมชน (3) ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้าง ได้แก่ สถาปนิก วิศวกร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ (1) ประเด็นที่ใช้ในการสนทนา (2) แบบสำรวจการพัฒนาอารยสถาปัตย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (3) แบบประเมินความพึงพอใจ/ความเหมาะสมที่มีต่ออารยสถาปัตย์การดำเนินการวิจัยและการพัฒนา มีดังนี้ (1) ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาอารยสถาปัตย์สำหรับผู้สูงอายุ มีขั้นตอนดังนี้ 1.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง 1.2 จัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) (2) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาอารยสถาปัตย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร” มีขั้นตอนดังนี้ 2.1 ชี้แจง ทำความ เข้าใจเกี่ยวกับโครงการวิจัย 2.2 บรรยายให้ความรู้ 2.3 สำรวจความต้องการ 2.4 เลือกสถานที่ดำเนินการ พัฒนา (3) ประสานเจ้าของ/ผู้ดูแลพื้นที่ (4) การพัฒนาอารยสถาปัตย์สำหรับผู้สูงอายุ มีขั้นตอนดังนี้ 4.1 ผู้วิจัย และสถาปนิกร่วมกับประธานชุมชน/ผู้แทนลงพื้นที่ภาคสนาม 4.2 ผู้วิจัยและสถาปนิกออกแบบ 4.3 ดำเเนิน การพัฒนา (5) ศึกษาความพึงพอใจ/ความเหมาะสม และทำการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ได้แก่ (1) ความถี่และร้อยละ (2) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูล เชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis and Synthesis) ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาอารยสถาปัตย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีการดำเนินการ 7 ขั้น ดังนี้ 1. ขั้นให้ความรู้ 2. ขั้นศึกษาความต้องการของชุมชน 3. ขั้นประเมินความเป็นไปได้ 4. ขั้นการขออนุญาต และประสานเจ้าของ/ผู้ดูแลสถานที่ 5. ขั้นออกแบบ 6. ขั้นดำเนินการ 7. ขั้นการประเมิน ผลการศึกษา พบว่าส่วนมากต้องการพัฒนาห้องน้ำ โดยการสนับสนุนงบประมาณ เครื่องสุขภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ ดำเนินการ ตามหลักอารยสถาปัตย์ 6 ประการ คือ 1) ทุกคนใช้ได้ เท่าเทียมกัน (Equitable Use) 2) ใช้งานง่าย (Simple and Intuitive Use) 3) การสื่อความหมายเข้าใจง่าย (Perceptible) 4) การออกแบบที่เผื่อการ ใช้งานที่ผิดพลาดได้ (Tolerance for Error) 5) ใช้แรงน้อย (Low Physical Effort) 6) ขนาดและพื้นที่ เหมาะสมกับการเข้าถึงและใช้งาน (Size and Space for Approach) ในพื้นที่ 7 แขวง คือ (1) แขวงตลาดพลู ชุมชนวัดกันตทาราราม (2) แขวงบางยี่เรือ ชุมชนตากสินสัมพันธ์ (3) แขวงดาวคะนอง ชุมชนวัดดาวคะนอง (4) แขวงหิรัญรูจี ชุมชนวัดบางไส้ไก่ (5) แขวงบุคคโล ชุมชนวัดกระจับพินิจ (6) แขวงสำเหร่ ชุมชนวัดบางน้ำชน (7) แขวงวัดกัลยาณ์ ได้แก่ ชุมชนวัดบุปผาราม ชุมชนโรงคราม ซึ่งดำเนินการพัฒนาทางเดิน มีความพึงพอใจ ต่อการพัฒนาอารยสถาปัตย์ โดยภาพรวมในระดับมาก (x̅ = 4.00)
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). คนโสด ความกลัว กับครอบครัวที่ต้องดูแล. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.thaicentenarian.mahidol.ac.th.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2557). คู่มือการออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับคนพิการและคนทุกวัย. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2561, จาก http://nep.go.th/sites/default/files/files/services/NEP8_07.pdf.
กระทรวงคมนาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2558). รายงานโครงการศึกษาการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการภาคขนส่งสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จักรกฤษณ์ แสนพรหม. (2556). ความจำเป็นของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุและผู้สูงอายุในพื้นที่ กรณีศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นพระธาตุบริวารของพระธาตุพนมจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ไตรรัตน์ จารุทัศน์ และคณะ. (2552). คู่มือปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมการออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน. กรุงเทพมหานคร : สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.
ไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2557). Universal Design: การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2561, จาก http://www.nstda.or.th/nac2013/download/presentation/Set4/NT-106-02/03 Trirat.pdf
นารีรัตน์ จิตรมนตรี และสาวิตรี ทยานศิลป์. (2552). การทบทวนองค์ความรู้และแนวทางการจัดระบบสวัสดิการผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2560). การดูแลผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2561, จาก http://haamor.com/
พีรพงษ์ เพ็ชรี่. (2551). การจัดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในโบราณสถาน (กรณีศึกษา : โบราณสถานในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชางานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภัทรนิษฐ์ จันพล (2556). แนวทางการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่วัด. วิทยานิพนธ์ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชพันธุ์ เชยจิตร และสุรีย์พร พันพึ่ง. (2548). การศึกษาความต้องการเดินทางและพฤติกรรมการเดินทางของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย. (2556). ประเทศไทย...ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเกือบเต็มตัวแล้ว. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561, จาก http://www.royalthaident.org/dentist/talk/7.
อภินันท์ สนน้อย. (2559). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว