การแบ่งส่วนตลาดผู้สูงอายุในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ภัทรา สุขะสุคนธ์ สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ฎายิน พรยุทธพงศ์ ์สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการดำเนินชีวิต, การบริหารการเงินส่วนบุคคล, การแบ่งส่วนตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การแบ่งส่วนตลาดผู้สูงอายุในอำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ใน การศึกษาดังนี้1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้เชิงสำรวจรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอ บางพลีจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้เชิงสำรวจรูปแบบการบริหารการเงิน ส่วนบุคคลของผู้สูงอายุในอำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้เชิงสำรวจรูปแบบการแบ่งส่วนตลาดของรูปแบบการดำเนินชีวิตทางด้านการบริหารการเงินส่วนบุคคลของผู้สูงอายุในอำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปอาศัยอยู่ในอำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และไม่นอนติดเตียง เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.964 ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจผลการศึกษา1)จัดองค์ประกอบรูปแบบการดำเนินชีวิตได้7องค์ประกอบ คือ1. รักครอบครัวและมีศีลธรรม 2. มั่นใจในตนเองและสนใจเรื่องรอบตัว3.อนุรักษ์และพัฒนา4. นักกิจกรรมที่เอาใจใส่ตัวเอง5.กระตือรือร้น รอบรู้สู่ความสำเร็จ 6. ดูแลตัวเองและสิ่งแวดล้อม 7. รักงานอดิเรกและความเสมอภาค 2) จัดองค์ประกอบ รูปแบบการบริหารการเงินส่วนบุคคลได้5องค์ประกอบ คือ1. นักวางแผนทางการเงิน 2. นักลงทุน 3. บริโภค อุปโภคอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ผู้มีความรอบคอบทางการเงิน 5. สุขกายสบายใจ และ 3) จัดองค์ประกอบ รูปแบบการแบ่งส่วนตลาดของรูปแบบการดำเนินชีวิตทางด้านการบริหารการเงินส่วนบุคคลได้5องค์ประกอบ คือ1.สร้างความมั่งคั่ง ทันสมัยและรอบรู้2. นักกิจกรรมและรอบคอบทางการเงิน 3. นักวางแผนทางการเงิน และมีศีลธรรม 4. สุขกายสบายใจสู่ความสำเร็จ 5. บริโภคอุปโภคอย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร : สามลดา.

กัลยาวานิชย์บัญชา. (2552).การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. (พิมพ์ครั้งที่4).กรุงเทพมหานคร:ธรรมสาร.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560).การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วยSPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร : สามลดา.

จิรวรรณ ดีประเสริฐ และจิรวุฒิหลอมประโคน. (2556). รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 19(2), น.126-133.ค้นเมื่อ25สิงหาคม 2561,จากhttps://www.tci-thaijo.org/indexphpapheitjournals/article/view/29886.

จิรวุฒิ หลอมประโคน และประพล เปรมทองสุข. (2555). รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้หญิงวัยทำงานในเขต กรุงเทพมหานคร.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.3(1), น.145-162.ค้นเมื่อ1ธันวาคม 2560, จาก http://www.ubu.ac.thwebfiles_up08f20130401144753

วีระชาติ ชุตินันท์วโรดม. (2556). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561, จาก https:// guru.sanook.com/6458

สุขใจ น้ำพุด, อนุชนาฏ เจริญจิตรกรรม และสมนึก วิวัฒนะ. (2557). กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพมหานคร : สามลดา.

อัศน์อุไร เตชะสวัสดิ์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ซี.วี.แอล.การพิมพ์.

Hair,Jr., et al. (2010). Multivariate Data Analysis a Global Perspective. New Jersey: Pearson education.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2016). Principles of Marketing. (16 th ed). England: Pearson education.

Kotler, P. & Keller, K.L. (2012). Marketing Management. (13 th ed). England: Pearson education.

Kotler, P. & Keller, K.L. (2012). Marketing Management. (14 th ed). New Jersey: Pearson education.

Mahalakshmi, V. & Chitra, D. (2013). An empirical study on lifestyle segmentation on the retail store attributes that are important to old people. Asia Pacific Journal of Marketing & Management Review. 2(3), pp. 92-105. Retrieved February 9, 2019, from https://www.indianresearchjournals.compdfAPJMMR2013 March10.pdf.

Plummer, J.T. (1974). The concept and application of life style segmentation. Journal of Marketing. 38 (1), pp.33-37. Retrieved February 1, 2018, from https://www.jstor. org/stable/1250164.

Downloads