กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ผู้แต่ง

  • พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์, โครงการบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของงานประชาสัมพันธ์โครงการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ กำหนดจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อศักยภาพของการประชาสัมพันธ์โครงการบัณฑิตศึกษา และเพื่อกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ โครงการบัณฑิตศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย และระดับคณะ ประชากรผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก ่ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน จำนวน 431คน ผู้วิจัยนำเสนอกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์3กลยุทธ์หลักคือ1.กลยุทธ์ด้านการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์การใช้สื่อหลายประเภทร่วมกัน 2) กลยุทธ์การกำหนดสื่อหลัก และสื่อเสริม 3) กลยุทธ์การใช้สื่อโดยเจาะกลุ่มเป้าหมาย 4) กลยุทธ์เพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับเครือข่าย 5) กลยุทธ์ในการใช้สื่อสมัยใหม่และ 6) กลยุทธ์การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ที่ดึงดูดความสนใจ 2. กลยุทธ์ด้านการใช้สารประชาสัมพันธ์ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์การสร้างสัญลักษณ์2) กลยุทธ์การสร้างความน่าเชื่อถือในสาร 3) กลยุทธ์การเผยแพร่สาร 4) กลยุทธ์การใช้ภาษา ที่เป็นจุดขายที่น่าสนใจ และ 5) กลยุทธ์นำเสนอจุดเด่นของหลักสูตร 3. กลยุทธ์ด้านคนหรือองค์กร ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์พัฒนาระบบงานประชาสัมพันธ์เชิงรุก 2) กลยุทธ์การสร้างศักยภาพภายในของโครงการบัณฑิตศึกษา 3) กลยุทธ์เชิงรุกเพิ่มช่องทางและสร้างเครือข่ายด้านประชาสัมพันธ์4)กลยุทธ์สนับสนุนและเสริมสร้างจิตวิญญาณในการประชาสัมพันธ์ให้แก่บุคลากร5) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อการตลาด และ 6) กลยุทธ์การเพิ่มความสามารถด้านการสื่อสาร

References

จอย ทองกล่อมสี. (2550).กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ การรับรู้ข่าวสารและภาพลักษณ์ของคณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยนันท์ นันทพันธ์. (2549). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ยุคใหม่ : รวมบทความยอดฮิตสะกิดใจคนทำงาน
ประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

ธนาภรณ์ เก้าสำราญ. (2558). การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ
กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 9(2), หน้า 23.

นวพรรณ อิ่มดวง. (2554). กลยุทธ์การบริหารสื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์ของสถาบันอุดมศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิริชชา เพี้ยนภักตร์. (2545). ผลการประชาสัมพันธ์ต่อความรู้ ทัศนคติ และการยอมรับ การปฏิรูปการศึกษา
ของครูในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาพิทย์อินทรชัย. (2560). เคล็ดลับในการสื่อสารที่ดี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 11(1),
หน้า 129.
ปวิณพงษ์ โอภาส และคณะ(2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี.กรุงเทพมหานคร:สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย (สกว).

พรทิพย์ พิมลสินธุ์. (2551). การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพจิตร เทียนทอง. (2547). Media Plan Management. กรุงเทพมหานคร : Higher Press.

ศิริวรรณ จุลทับ และจินตนา ตันสุวรรณนนท์. (2558). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสถาบันอุดม

ศึกษาเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้.ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อารีย์ สุวรรณคีรี. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาการประชาสัมพันธ์เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา. ใน วิวัฒน์จันทร์กิ่งทอง (บรรณาธิการ). การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย. (หน้า 211-
220). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Burnet, R., & Marshall, D.P. (2003). Web Theory. London : Routlege.

Simon, R. (1984). Public Relations: Concepts and Practices. 3rd ed. New York : John Wiley
and Son.

Downloads