การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย ตั้งศรีทอง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • พิกุล ภูมิโคกรักษ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง, การบริหารสถานศึกษาพอเพียง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ1)ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาพอเพียงมี2 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ ปี2554-2556 จำนวน 4 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจงรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
2)ผู้บริหาร หัวหน้าวิชาการและกรรมการสถานศึกษา ที่ผ่านการประเมินสถานศึกษาพอเพียง ปี2550-2559จำนวน 355 โรงเรียน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) รวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน10 คน รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการ Focus Group Discussion กลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน และผู้บริหารระดับปฏิบัติการ จำนวน 40 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายด้านและต้องนำมากำหนดกรอบแนวทางการพัฒนา5ด้าน ได้แก่ด้านที่1ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านที่2ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านที่3ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านที่ 4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ด้านที่ 5 ด้านผลลัพธ์ภาพความสำเร็จ รวม 32 ประเด็นการพัฒนา2)การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงใช้วิธีการพัฒนาด้วยตนเองและ 3)การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง พบว่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดและความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ประกาศสถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนการสอนและการบริหาร
จัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ธิดารัตน์ ศรีขาว. (2557). รูปแบบการพัฒนาการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ของประชาชนชนบทในจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เนาวรัตน์ นาคพงษ์. (2555).กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้หลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศึกษาศาสตร์. 14(3), หน้า 49.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : วิริยาสาสน์.

ประยงค์ แก่นลา. (2554). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการบริหารการศึกษา 5(1), หน้า 61.

พูนสุข หิงคานนท์. (2545). การพัฒนารูปแบบการจัดองค์การของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวง
สาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. (2547) . ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดีการพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. (2554). แนวการดำเนินการสถานศึกษา
พอเพียงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. นครราชสีมา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษานครราชสีมา เขต 5.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556).แนวการดำเนินงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

. (2559). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียน
การสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ 2559.
กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560-2564). ค้นเมื่อ 7 มกราคม 2560, จาก http : //www.moe.go.th.

อรัญญา เพิ่มพีรพัฒน์. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครราชสีมา.

Keeves, P.J. (1988). Model and model Building Education Research Methodology and

Measurement : An international Handbook. Oxford : Pergamon Press.

Downloads