การจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด ในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเขตสวนหลวง
คำสำคัญ:
การจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน, การป้องกันปัญหายาเสพติด, เขตสวนหลวงบทคัดย่อ
การจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติดในกรุงเทพมหานคร:กรณีศึกษา เขตสวนหลวงเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกัน ปัญหายาเสพติด เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะการแพร่ระบาดของยาเสพติดมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในกลุ่ม เยาวชนและสภาพการจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด มีหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมการดำเนินงานหลายองค์กร โดยมีสมาชิกสภาเขตสวนหลวง ผู้นำชุมชนและ คณะกรรมการชุมชนเป็นแกนนำในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดสนับสนุนการสร้างการมี ส่วนร่วมของครอบครัวชุมชน มีการร่วมคิดร่วมตัดสินใจร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนตนเอง 2) การจัดการป้องกันปัญหายาเสพติดแบบมีส่วนร่วมชองชุมชน พบว่าการสนับสนุนจากภาครัฐไม่ตรงตาม ต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ขาดความต่อเนื่อง ขาดการประสานที่ดีมีตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมในการจัด เวทีประชาคมแต่มีแนวทางการปฏิบัติที่ไม่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ยังขาดองค์ความรู้และทักษะในการ ดำเนินงานในชุมชนแต่ละประเภท และ3)แนวทางการจัดการดำเนินการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมีการ จัดทำแผนพัฒนาชุมชนที่มีความยั่งยืน โดยวิเคราะห์สภาพปัญหา ระดมทรัพยากรด้านบุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ เครื่องมืออย่างเหมาะสม มีการดำเนินงานแบบผสมผสานปรับปรุงให้เหมาะสมสอดคล้องตามสภาพ และมีการบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด โดยการใช้หลักธรรมทางศาสนาเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติตนเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดยาเสพติดเพื่อให้แก้ไขปัญหาในทางที่ถูกต้อง และไม่กลับไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอีกต่อไป โดยเน้นบทบาทภาคประชาชนเป็นหลักในการดำเนินงาน ส่วน ภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือ
References
กลุ่มระบบข้อมูลและสถิติ. (2557).สถิติคดีอาญาที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลระหว่างปี 2555 และ 2556.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานแผนงานและงบประมาณ สำนักงานศาลยุติธรรม.
คนอง พิรุณ. (2557).การพัฒนารูปแบบการป้องกันยาเสพติดโดยประชาชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาบ้านฮองฮี
ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์. มหาสารคาม : วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จุมพล หนิมพานิช. (2551).การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์.กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตะวัน ตระการฤกษ์. (2559). ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปราม
ยาเสพติดของตำรวจภูธรภาค 7. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยสยาม.
รอฮานิเจะอาแซ และคณะ. (2559). รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบการป้องกันยาเสพติดโดยใช้มัสยิด
เป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษาชุมชนมัสยิดบ้านเหนือ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
และชุมชนมัสยิดบ้านลุ่ม ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี. ปัตตานี:คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.
วัลภา ฐาน์กาญจน์, นฤทธิ์ดวงสุวรรณ, อานัติหวังกุหลา และมูฮามัดรุสดีนาคอ. (2558). รายงานโครงการถอดบทเรียนกระบวนการของชุมชนต่อการบำบัดฟื้นฟู ป้องกัน เยาวชนจากสารเสพติด.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2560).แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา
ยาเสพติด ปี 2559. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2560). นโยบายการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว