ความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระดับตำบล (OTOP) ในจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด, สินค้าชุมชน, OTOPบทคัดย่อ
อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระดับตำบล (OTOP) เป็นอุตสาหกรรมที่มีความได้เปรียบด้านแหล่งวัตถุดิบ และความเชี่ยวชาญในการแปรรูปอาหารที่มีลักษณะเฉพาะตามลักษณะของพื้นที่ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางการตลาดและความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระดับตำบลในจังหวัดนนทบุรี เพื่อการนำเสนอแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การเพิ่มความสามารถทาง การแข่งขัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณจากการศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการ โดยประชากร ที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระดับตำบล ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 270 ราย จำนวนตัวอย่าง 167 ราย ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน จากผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพแวดล้อมทางการตลาดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความพึงพอใจของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ส่งผลต่อ ความสามารถในการแข่งขัน 2) องค์ประกอบด้านความสามารถทางการแข่งขันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสามารถในการตอบสนองลูกค้า และ 3) สภาพแวดล้อมทางการตลาด มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการแข่งขันในทุกด้าน ทั้งด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิภาพ ด้านนวัตกรรม และด้านความสามารถในการตอบสนองลูกค้า โดยผู้วิจัยเสนอแนะให้ประยุกต์ใช้กลยุทธ์การเจริญเติบโต ในการสร้างความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระดับตำบลในจังหวัดนนทบุรี กล่าวคือ ผู้ประกอบการควรใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งที่ขายในตลาดเดิมและขยายไปยัง ตลาดใหม่ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย โดยทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างจาก คู่แข่งขัน ปรับปรุงรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยและตรงกับรสนิยมของผู้ซื้อ ควบคู่กับการพัฒนากลยุทธ์ ระดับหน้าที่ทางการผลิตและทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ง่าย และรวดเร็ว
References
นฤมล สรรพขาว. (2553). กลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขัน ใน อุตสาหกรรมน้ำผักและผลไม้พร้อมดื่ม กรณีศึกษา: บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน). การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัย สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยสาสน์.
ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช. (2560). การจัดการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
อรรนพ เรืองกัลปวงศ์ สราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์ และวรนาถ ศรีพงษ์. (2555). ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่ งขันของธุ รกิจผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปผักและผลไม้ ในกลุ่ มภาคกลาง ตอนล่าง. วารสารวิจัย มสด. 8(1), น. 119-130.
แอนนา พายุพัด ฐัศแก้ว ศรีสด และธัชกร วงษ์คำชัย. (2559). การวิเคราะห์และออกแบบระบบเว็บไซต์พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ OTOP 3-5 ดาว. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 10(1), น. 47-58.
แอนนา พายุพัด ฐัศแก้ว ศรีสด และธัชกร วงษ์คำชัย. (2561). รูปแบบและเนื้อหาของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ OTOP 3-5 ดาว. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 12(1), น. 83-91.
Daou, A., Mallat, C., Chammas, G., Cerantola, N., Kayed, S., and Saliba, N. A. (2020). The Ecocanvas as a business model canvas for a circular economy. Journal of Cleaner Production. 258, pp. 120-938.
Ellickson, P. B., Lovett, M. J., and Ranjan, B. (2019). Product launches with new attributes: a hybrid conjoint-consumer panel technique for estimating demand. Journal of Marketing Research. 56(5), pp. 709-731.
Hildebrand, C. Haubl, G., and Herrmann, A. (2014). Product customization via starting solutions. Journal of Marketing Research. 51(6), pp. 707-725.
Hill, C. W. L. and Jones, G. R. (2008). Strategic Management: An Integrated Approach. (9 th ed). Ohio: South-Western.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30, pp. 607-610.
Likert, R. (1932). A Technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology.140, pp. 1-55.
Lim, L. G., Tuli, K. R., and Grewal, R. (2020). Customer satisfaction and its impact on the future costs of selling. Journal of Marketing. 84(4), pp. 23-44.
Reinartz, W., Wiegand, N., and Imschloss, M. (2019). The impact of digital transformation on the retailing value chain. International Journal of Research in Marketing. 36(3),pp. 350-366.
Rust, R. T. (2020). The future of marketing. International Journal of Research in Marketing.37(1), pp. 15-26.
Zhang, Y., Trusov, M., Stephen, A. T., and Jamal, Z. (2017). Online shopping and social media:friends or foes?. Journal of Marketing. 81(6), pp. 24-41.
Zhang, J. Z. and Watson IV, G. F. (2020). Marketing ecosystem: An outside-in view for sustainableadvantage. Industrial Marketing Management. 88, pp. 287-304.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว