การศึกษาการรับรู้อัตลักษณ์ผ่านการจัดการการตลาดท่องเที่ยวของชุมชน จังหวัดปทุมธาน

ผู้แต่ง

  • ฐิญาภา เสถียรคมสรไกร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อัจฌิรา ทิวะสิงห์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการการตลาดท่องเที่ยว, อัตลักษณ์ชุมชน, ชุมชนจังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้อัตลักษณ์ผ่านการจัดการการตลาดท่องเที่ยวของชุมชน จังหวัดปทุมธานี ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวม ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ทั้งความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยว ที่มีประสบการณ์การท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์การท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานีเพื่อหาความสนุกสนาน/เพลิดเพลิน คิดเป็นร้อยละ 38.2 โดยมีประสบการณ์ท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานีมากกว่า 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 41.4 เป็นการท่องเที่ยวกับเพื่อน/ ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 84.5 ซึ่งครอบครัวเป็นบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 38.4 นิยมเดินทางในช่วงวันสุดสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 75.5 และใช้เวลาในการท่องเที่ยวที่จังหวัด ปทุมธานีเพียง 1 วัน คิดเป็นร้อยละ 77.7 เมื่อพิจารณาระดับการรับรู้อัตลักษณ์ผ่านการจัดการการตลาด ท่องเที่ยวของชุมชน จังหวัดปทุมธานี พบว่า ภาพลักษณ์แรกด้านการท่องเที่ยวของชุมชน จังหวัดปทุมธานี ในมุมมองของกลุ่มตัวอย่าง คือ ก๋วยเตี๋ยวเรือ คิดเป็นร้อยละ 34.8 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างรับรู้อัตลักษณ์ด้านวิถี ชีวิตเกษตรมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 นอกจากนี้ยังรับรู้ว่า จังหวัดปทุมธานีมีแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการจับจ่ายใช้สอยและความบันเทิง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.83 โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่าง มีการรับรู้อัตลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของชุมชน จังหวัดปทุมธานี ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 25.54

References

กรมการท่องเที่ยว. (2562). จำนวนและรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติ รายเดือน ปี 2559-2562P. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2563, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=585.

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561-2564. กรุงเทพมหานคร : VIP COPY PRINT.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ญาดา กุลกฤษฎา. (2560). การยอมรับและการใช้สื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐิติวรดา ด่านพิทักษ์กุล และทรงพร หาญสันติ. (2563). อิทธิพลของการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีผลต่อทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของสินค้ากุชชี่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 14(1), น. 175-189.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบัน ราชภัฏอุบลราชธานี.

ภัสชา วงศ์ทิมารัตน์. (2558). ประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ธุรกิจสปา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 9(1), น. 106-124.

มธุรา สวนศรี. (2558). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ ตลาดบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารกระแสวัฒนธรรม. 17(13), น. 41-55.

มะลิวรรณ ช่องงาม และคณะ. (2562). ภาพลักษณ์ก๋วยเตี๋ยวเรือในคลองรังสิตประยูรศักดิ์. วารสารวิทยาลัย สงฆ์นครลําปาง. 8(1), น. 201-208.

วันทิกา หิรัญเทศ. (2562). พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดิน ทางท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. ฉบับเสริม, น. 76-90.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารวิจัย ทางการศึกษา. 18(3), น. 8-11.

ศิรินฤมล ช้อยเรือง. (2558). การออกแบบอัตลักษณ์สินค้าจังหวัดปทุมธานีจากหัตถกรรมเศษผ้า. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานจังหวัดปทุมธานี. (2559). บรรยายสรุปจังหวัดปทุมธานี. ค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://123.242.173.131/pathumthani_news/attach_file/patum_sum59_180459.pdf.

สำนักงานจังหวัดปทุมธานี. (2557). แผนพัฒนาจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2557-2560. ค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www2.pathumthani.go.th/551017.pdf.

Gouveia, M., Saur-Amaral, I. & Aragonez, T. (2013). Destination Brand Awareness of Region Center of Portugal: Tourists’ and Tourism Professionals’ Perspectives. Retrieved September 3, 2020, from https://www.researchgate.net/publication/269996598_ Destination_Brand_Awareness_of_Region_Center_of_Portugal_Tourists'_and_Tourism_ Professionals'_Perspectives.

Hahm, J.J.& Tasci, A.D.A. (2009). Country image and destination image of Brazil in relation to information sources. Journal of Hospitality and Tourism Insights. 3(2), pp. 95-114.

Karim, Z. (2018). The Impact of Social media on Tourism Industry growth in Bangladesh. International Journal of Economics, Commerce and Management United Kingdom. VI (8), pp.463-482.

Kim, S., Holland, S. & Han, H. (2012). A Structural Model for Examining how Destination Image, Perceived Value, and Service Quality Affect Destination Loyalty: a Case Study of Orlando. ค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563, จาก https://onlinelibrary.wiley.com/ doi/abs/10.1002/jtr.1877.

Sahin, S. & Baloglu, S. (2011). Brand personality and destination image of Istanbul. Anatolia – An International Journal of Tourism and Hospitality Research. 22(1), pp. 69-88.

Topler, J.P & Zekanovic- Korona, L. (2018). Digital media, perception and the selection of the 2016 best European Destination: the case of Zadar. Annales Series Historia et Sociologia. 28(2), pp. 343-354.

Vorasiha,E. (2019). Tourism media perception affecting people’s travel behaviour and planning. African Journal of Hospitality, Tourism and Leisure. 8(5), pp. 1-7.

Živković, R., Gajić, J. & Brdar, I. (2014). The Impact of Social Media on Tourism. Retrieved September 3, 2020, from https://www.researchgate.net/publication/266382179_The_ Impact_of_Social_Media_on_Tourism.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28