การดูแลสุขภาวะของเด็กปฐมวัยในสถานการณ์ New Normal

ผู้แต่ง

  • โชติรส สุทธิประเสริฐ สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • วารุณี นาวัลย์ สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ปองรัก รังษีวงศ์ สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • พัชรา พุ่มพชาติ สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, โควิด-19, สุขภาวะ

บทคัดย่อ

การดูแลสุขภาวะของเด็กปฐมวัยแบบ New Normal ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นับเป็นความสำคัญยิ่ง เด็กปฐมวัยจำเป็นต้องได้รับการดูแลและปฏิบัติอย่างถูกวิธีเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีสุขภาวะที่ดีและมีความปลอดภัย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต และความปลอดภัยที่เชื่อมโยงมาสู่ตัวเด็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เด็กปฐมวัยจึงควรได้รับการดูแลสุขภาวะทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล ท่ามกลาง สภาวะของความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือที่สูง แนวปฏิบัติในการดูแลสุขภาวะของเด็กปฐมวัยแบบ New Normal จึงมีวิธีการที่แตกต่างจากปกติเดิมเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ที่มีความผันผวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันประกอบด้วยแนวปฏิบัติเบื้องต้นของผู้ใหญ่ในการดูแลตนเองซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง การติดตามข้อมูลข่าวสารของโรคอย่างสม่ำเสมอ การปรับสภาพจิตใจให้เข้มแข็ง และการยอมรับสถานการณ์ ตลอดจนแนวปฏิบัติเบื้องต้นของผู้ใหญ่ในการดูแลสุขภาวะของเด็กปฐมวัยซึ่งเกี่ยวข้องกับ การให้ความรัก ความอบอุ่น และความชื่นชม การสนับสนุนให้เด็กทำการบ้านและกิจกรรมด้วยตนเอง การจัดกิจกรรมการเล่น การจัดการกับความกลัว ความกังวล และการนอนไม่หลับของเด็ก การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความผ่อนคลาย การจัดเตรียมความพร้อมและปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพการทางร่างกาย และการสอนมาตรการป้องกันเชิงบวกให้เด็ก กลไกการรับมือในสภาวะการคงอยู่ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยแนวปฏิบัติการดูแลสุขภาวะของเด็กปฐมวัยแบบ New Normal เป็นการช่วยให้เด็กได้อยู่ในภาวะที่ปลอดภัยทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2546). พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก. ค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564, จาก https://dcy.go.th/webnew/uploadchild/yth/laws/law_th_20170910090508_1.pdf.

จิราภรณ์ แผลงประพันธ์ และสมชัย จิตสุชน. (2563). ผลกระทบของโควิด-19 ต่อครัวเรือนที่มีเด็กเล็ก. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จาก https://tdri.or.th/2020/08/covid19-impact-early-child/

ฐิติรัตน์ เดชพรหม. (2563). ม.มหิดล ทดสอบเปิดห้องเรียนเด็กปฐมวัยนิวนอร์มอล สู้โควิด. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2563, จาก https://siamrath.co.th/n/163364.

นิตยา เพ็ญศิรินภา และคณะ. (2558). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา: สุขภาวะเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประยุทธ์ จันทร์โอชา. (2564). คำขวัญวันเด็ก ประจำปี พ.ศ.2564. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2564, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37529.

ประเวศ วะสี. (2550). สุขภาวะทางจิตวิญญาณ. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.nationalhealth.or.th/blog

ปาริชาต เทพอารักษ์ และอมราวรรณ ทิวถนอม. (2550). บทความเรื่อง สุขภาวะของคนไทย จุดเริ่มต้นของ ความอยู่เย็นเป็นสุข. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 44 (1), น. 12-17.

ยูนิเซฟประเทศไทย. (2563). ยูนิเซฟเผยผลกระทบโควิด-19 ต่อเด็กและเยาวชนในประเทศไทย พบเยาวชน 8 ใน10 คนเครียดด้านปัญหาการเงินของครอบครัวมากที่สุด. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จาก https://www.unicef.org/thailand/th/press-releases.

สุรพล อิสรไกรศีล. (2563). ราชบัณฑิตฯ บัญญัติศัพท์ใหม่ ‘New Normal’ ใช้ นิวนอร์มอล-ความปกติ ใหม่-ฐานวิถีชีวิตใหม่. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จาก https://www.facebook.com/surapol.issaragrisil/posts/10207392559168907.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช). (2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2563, จาก https://www.nationalhealth.or.th.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2563). New normal สำหรับเด็กปฐมวัยจากสถานการณ์โควิด-19. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2563, จาก https://www.starfishlabz.com/blog/207-new-normal.

American Academy of Pediatrics. (2018). Helping Children Handle Stress. Retrieved January 22, 2021, from: https://healthychildren.org/English/healthy-living/emotional-wellness/Pages/Helping-Children-Handle-Stress.aspx.

Center for Disease Control and Prevention. (2020). Help Children Learn at Home. Retrieve January 22, 2021, from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/daily-life-coping/children/learning.html.

Center for Disease Control and Prevention. (2021). How to Protect Yourself & Others. Retrieve January 22, 2021, from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prevent-getting-sick/prevention.html.

Horney, Pasmore and O’Shea. (2010). Leadership Agility: A Business Imperative for a VUCA World. Retrieved November 22, 2020, from https://luxorgroup.fr/coaching/wp-content/uploads/Leadership-agility-model.pdf.

Robert D,Sege & Benjamin S. Siegel. (2020). Effective Discipline to Raise Healthy Children. Retrieve January 22, 2021, from: https://pediatrics.aappublications.org/content/pediatrics/142/6/e20183112.full.pdf.

Stephen W. Patrick, Laura E. Henkhaus, Joseph S. Zickafoose, Kim Lovell, Alese Halvorson, Sarah Loch, … Matthew M. Davis. (2020). Well-being of Parents and Children During the COVID-19 Pandemic: A National Survey. Retrieved January 22, 2021, from: https://pediatrics.aappublications.org/content/146/4/e2020016824#sec-18.

Shawna J. Lee, Kaitlin P. Ward, Olivia D. Chang & Kasey M. Downing. (2020). Parenting activities and the transition to home-based education during the COVID-19 pandemic. Retrieved January 22, 2021, from: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0190740920320089#!.

The United Nations Office on Drugs and Crime. (2021). CARING FOR YOUR CHILD DURING COVID-19. Retrieved December 28, 2020, from: https://www.unodc.org/documents/listenfirst/covid19/booklet/UN-Caring-for-child-in-Covid19-booklet-200619-rev-DIGITAL.pdf.

Unicef. (2020). Coronavirus (COVID-19) parenting tips. Retrieved January 21, 2021, from: https://www.unicef.org/coronavirus/covid-19-parenting-tips.

WHO. (1998). Adelaide Recommendation on healthy Public Policy. WHO. Geneva. Retrieved December 14, 2020, from: https://www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/Adelaide/en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28 — Updated on 2024-06-12

Versions