การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออนไลน์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • จิระพงศ์ ฉันทพจน์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออนไลน์, วิทยาการคำนวณ, ประถมศึกษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้ คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออนไลน์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้ได้ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ของกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออนไลน์ และกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออนไลน์ ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มที่ 2 จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มควบคุมที่เรียนตามปกติ ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยการเลือกแบบวิธีสุ่มอย่างง่าย จากผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีค่าเท่ากับ 80.00/88.22 ค่าประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาวิทยาการคำนวณสูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออนไลน์ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33 โดยนักเรียนมีความคิดเห็นว่า บทเรียนช่วยสอนนี้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย การจัดลำดับเนื้อหามีความเหมาะสม อีกทั้งยังมีความเชื่อมโยงบทเรียนในแต่ละบท ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2533). เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เล่มที่ 1-5. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชุดาณัฎฐ์ แสนเหลาเจริญยิ่ง. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม Microsoft Producer เรื่อง การปฏิบัติเบอเกอรี่เบื้องต้น โดยใช้เทคนิคการสอนแบบการเรียนรู้จากการทำงาน (Work - based Learning) สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัย เทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและ การสอนโครงการบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ณัฐริน เจริญเกียรติบวร และคณะ. (2560). คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการทำงานของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียน ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีพัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ. วารสารศิลปกร วิจัยและพัฒนา (สาขา มนุษยศาสตร์และศิลปะ). 10 (2), น. 2088-2101.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น. บุญชม ศรีสะอาด (2545). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

พัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2541). มัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 11 (28), น. 11-12.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ผลการประเมิน PISA 2558 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ทิศทางของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

Kuder, G.F., & Richardson, M.W. (1937). The Theory of Estimation of Test Reliability. Psychmetrika, pp. 151-160.

Ozmen, H.. (2008). The Influence of Computer-Assisted Instruction on Students' Conceptual Understanding of Chemical Bonding and Attitude toward Chemistry: A Case for Turkey. The Journal of Computers & Education. 51 (1), pp. 423-438.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. The Journal of Educational Research. 2(1), pp. 49-60.

Skinner, B.F., (1972). Beyond Freedom and Dignity. New York : Appleton-Century-Crofts, pp. 225.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28