การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การพัฒนาอาชีพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุต่อการพัฒนาอาชีพเพื่อ สร้างรายได้ 2) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุ 3) ดำเนินการพัฒนา อาชีพสำหรับผู้สูงอายุ เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามจากผู้สูงอายุในชุมชน 353 คน ร่วมกับ การสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนผู้สูงอายุ ผู้นำท้องถิ่นและผู้นำชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความ ต้องการของผู้สูงอายุที่มีต่อการพัฒนาอาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมากซึ่งมีค่าเฉลี่ย ( = 3.80) โดยเรียง ตามลำดับคือ ด้านความต้องการทางด้านกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.12) ด้านความต้องการในการจัดหางาน มีค่าเฉลี่ย ( = 3.91) ด้านโครงการส่งเสริมอาชีพที่มีผลต่อผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ย ( = 3.59) และด้านความ ต้องการด้านประเภทของโครงการมีค่าเฉลี่ย ( = 3.58) 2) กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านการ วางแผน อบต. และชุมชนเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนโดยให้แสดงความคิดเห็นผ่าน การทำประชาคมของ อบต. และช่องทางอื่นๆ ด้านการดำเนินงานผู้นำชุมชนจะเป็นหลักในการผลักดันเพื่อให้ เกิดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ด้านการใช้บริการจากโครงการอบต.และชุมชนได้จัดกิจกรรม การฝึกอบรมอาชีพให้ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องเช่นกระเป๋าจากวัสดุเหลือใช้โดยการถักสานด้วยมือที่เป็นหลักสูตร ในระยะสั้นให้กับผู้สูงอายุด้านการรับผลประโยชน์ผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนทุกคนสามารถที่จะเข้ามาพัฒนาอาชีพ ที่ทาง อบต. หรือชุมชนจัดให้ 3) ดำเนินการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุที่ได้จากการสนทนา กลุ่มได้ข้อสรุปคือให้กลุ่มวิสาหกิจในชุมชนของตำบลเทพารักษ์ ได้เข้ามาให้ความรู้บรรยายและสอนการทำ กระเป๋าจากวัสดุเหลือใช้ซึ่งเหตุผลที่เลือกอาชีพเสริมนี้เพราะว่าชุมชนในตำบลเทพารักษ์เป็นชุมชนเมืองจึงมี วัสดุเหลือใช้นี้ค่อนข้างมาก เช่น กระป๋องบรรจุน้ำอัดลม กระป๋องเบียร์ กล่องบรรจุภัณฑ์ ที่มีลวดลายสวยงาม ซึ่งถ้าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมจะได้มีความรู้และนำไปทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุอาจจะรวมกลุ่มกันและไปตั้งสินค้าขายในนามชมรมผู้สูงอายุของตำบล หรือนำสินค้าไปวางขาย ในงานโอทอปของตำบลเทพารักษ์ หรือในจังหวัดสมุทรปราการ
References
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนยุทธศาสตร์สวัสดิการสังคมไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555-2559 [ค้นเมื่อ. 20 กรกฎาคม 2558]. จาก : http://www.m-society.go.th
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2546). แนวคิดคู่มือปฏิบัติงานสภาตำบล และ อบต. กรุงเทพฯ : สำนัก กฎหมายและระเบียบท้องถิ่น. จิตติมา คงปาน. (2551). การพัฒนาแบบสำรวจความสนใจในอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการวัดผลและวิจัยการศึกษามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.
ตฤณธวัช ธุระวร. (2547). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
รฐา เตียวต๋อย. (2549). สภาพการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาวจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการศึกษา ผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่องมหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ. ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศราวุธ ดีมาก. (2549). การพัฒนากลุ่มอาชีพบ้านสะพานหินหมู่ที่ 9 ตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ศศิเพ็ญ พวงสายใจ และคณะ. (2552). โครงการความเป็นไปได้ในการส่งเสริมและสร้างแนวทางการมีงาน ทำเพื่อการมีรายได้ของผู้สูงอายุในพื้นที่นำร่องจังหวัดลำปางกรณีศึกษา ตำบลห้างฉัตร อำเภอ ห้างฉัตรจังหวัดลำปาง. เชียงใหม่ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภางค์ จันทรวานิช. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรกุล เจนอบรม. (2541). วิสัยทัศน์ผู้สูงอายุและการศึกษานอกระบบสำหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุมาลี คู่สกุลนิรันดร์. (2531). การประกอบอาชีพเสริมของชาวนาอีสานศึกษาเฉพาะกรณีบ้านศรีฐาน อำเภอป่าติ้วจังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2551). การศึกษาสังคมและวัฒนธรรม.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อภิษฎา เหล่าวัฒนพงษ์. (2554). ความต้องการและแนวทางในการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุด้านอาชีพ โครงการส่งเสริมอาชีพพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยบริการ, 22 (3): 56 – 67.
Alexandre Cristina Ranos da Silva lopes. (2006). Welfare Arrangements, Safety Nets and Familial Support for the Elderly in Portugal. Retrieved May 9, 2014, from http://ler.letras.up.pt/uploads/ficheiros/5041.pdf
Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1980). Participation’s Place in Rural Development: Seeking Clarity through Specificity. World Development, 8(3).
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Graneheim, B. L. (2004). Qualitative Content Analysis in Nursing Research: Concepts, Procedures and Measures to Achieve Trustworthiness. Nurse Education Today. 24: 105-112.
Hampton, J. (2008). Elderly People and Social Welfare in Zimnanwe. Retrieved May 9, 2014, from http://journals.Cambridge.org/action/displayAbstract:jsessionid=19A4CC20FA70B9A71431706C7874F2A.journals?fromPage=online&aid=2654772
Miles, M. B. and Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis. (2nd ed). Thousand Oaks: SAGE.
Shea, G. F., & Haasen, A. (2006). The older worker advantage: Making the most of our aging workforce. Greenwood Publishing Group.
Trondheim. (2008). Function and Work Ability Follow Multidisciplinary Rehabilitation for Individuals with Chronic Musculoskelrtal Pain. The degree philosophiae doctor, Department of Social Work and health Science, Norwegian Univesity.
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว