การศึกษาความพร้อมของโรงเรียนในการพัฒนาเพื่อก้าวสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง

ผู้แต่ง

  • วิสุทธิณี ธานีรัตน์ สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
  • ชัยยา น้อยนารถ สาขาวิชาการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

คำสำคัญ:

ความพร้อมของโรงเรียน, การศึกษาไทยแลนด์ 4.0, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความพร้อมของโรงเรียนในการพัฒนาเพื่อก้าวสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมของโรงเรียนในการพัฒนาเพื่อก้าวสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 1,150 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพร้อมของโรงเรียนในการพัฒนาเพื่อก้าวสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง โดยรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ( x̄= 3.96) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความพร้อมมากที่สุด คือ ด้านผลกระทบ รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านบริบท ด้านกระบวนการ และด้านประสิทธิผล ตามลำดับ 2) สำหรับผลการเปรียบเทียบความพร้อมของโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีเพศต่างกัน ความพร้อมโดยรวมและรายด้านเกือบทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ยกเว้นด้านประสิทธิผล ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ต่างกัน ความพร้อมโดยรวมและความพร้อมด้านบริบทและด้านผลกระทบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนที่มีเพศต่างกัน ความพร้อมด้านประสิทธิผล แตกต่างกัน และระดับชั้นที่ต่างกัน ความพร้อมด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เขตพื้นที่การศึกษาที่ต่างกัน ส่งผลให้ความพร้อมโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และขนาดของโรงเรียนต่างกัน โดยแบ่งเป็นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก มีความพร้อมด้านบริบท และด้านกระบวนการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). ข้อมูลรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2561 และ 2562. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563. จาก http://www.dla.go.th/work/money/index.jsp.

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563. จาก https://www.nstda.or.th.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีราภรณ์ ผลกอง. (2558). ความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นิกร จันภิลม, และศตพล กัลยา. (2562). เทคโนโลยีการศึกษาในยุค Thailand 4.0. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(21), หน้า 304-314.

ผ่องพรรณ พลราช, และเกริกไกร แก้วล้วน. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 1(1), หน้า 27-40.

พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคThailand 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ วิริเดียน มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), หน้า 1-18.

วีระพงษ์ ก้านกิ่ง, และชวนคิด มะเสนะ. (2560). สภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณขอสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารราชธานีนวัตกรรม ทางสังคมศาสตร์, 1(1), หน้า 41-58.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). สรุปข้อมูลเบื้องต้น PISA 2015. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

สุบัน มุขธระโกษา, และศศิรดา แพงไทย. (2562). ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 10(1), หน้า 454-461.

สุวิมล มธุรส, และกิตติ รัตนราษ. (2562). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสาร วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(2), หน้า 1-16.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปี 2543-2547. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา ผ่านตัวผู้เรียน. รายงานการวิจัย สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563. จาก http://nscr.nesdb.go.th.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. วารสารราชพฤกษ์, 35(3), หน้า 102-136.

อริยา พรหมสุภา. (2562). “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน องค์การแห่งการเรียนรู้ในชุมชน : ชุมชนโป่งคำ จังหวัดน่าน และชุมชนแจ่มหลวง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

องค์การยูนิเซฟ. (2560). MICS : ข้อมูลที่น่าสนใจจากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559. กรุงเทพมหานคร : องค์การยูนิเซฟ.

Driessen, G. (2019). Are the Early Childhood Education claims valid?. Encyclopedia publishing, 267 (1), pp. 15-21.

Hoy, W. K. & Hannum, J. & Tschannen-Moran, M. (1998). Organizational Climate and Student Achievement: A Parsimonious and Longitudinal View. Journal of school leadership, 8 (2), pp. 336-359.

Magnuson, K. A., Meyers, M. K., Ruhm, Christopher J. & Waldfogel, J. (2004). Inequality in children’s school readiness and public funding. American Educational Research Journal, 41 (1), pp. 115-157.

Munnik, E. & Smith M. (2019). Contextualising school readiness in South Africa: Stakeholders’ perspectives. South African Journal of Childhood Education, pp. 1-13.

Naik, P. K. & Mani, S U. (2018). Impact of organizational climate on academic, professional and social dimensions of teacher effectiveness of secondary schools: A study. International Journal of Multidisciplinary Education and Research, 3(3), pp. 52-56.

Tubbs, J. E. & Garner, M. (2008). The Impact of school climate on school outcomes. Journal of College Teaching & Learning, 5(9), pp. 17-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28