การศึกษาทัศนคติของการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ผู้แต่ง

  • กัลยานี เลื่องสุนทร สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, พฤติกรรม, เครือข่ายสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมและทัศนคติการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 403 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ทดสอบค่า Independent Samples T-Test และค่า F-Test เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้ค่า LSD (Least Significant Difference) ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการมากที่สุด ใช้งานส่วนใหญ่ที่บ้าน ระยะเวลาใช้งานมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อครั้ง ในช่วงเวลา 18.01 – 24.00 น. มีความถี่ในการใช้งานมากกว่า 5 ครั้ง/สัปดาห์ มีจุดประสงค์หลักด้านการพูดคุยกับเพื่อน อุปกรณ์ที่ใช้คือ โทรศัพท์มือถือ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใช้มากที่สุดคือ Facebook และพบว่าทัศนคติการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา อันดับที่ 1 คือ ด้านสังคม ค่าเฉลี่ย 4.32 รองลงมาคือ ด้านความคิด ค่าเฉลี่ย 4.22 ด้านความรู้สึก ค่าเฉลี่ย 4.15 ด้านการกระทำ ค่าเฉลี่ย 4.08 ด้านการเรียน ค่าเฉลี่ย 4.06 และด้านสุขภาพ ค่าเฉลี่ย 3.68 ตามลำดับ รวมทั้งผลการเปรียบเทียบทัศนคติการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา เมื่อจำแนกตามลักษณะของประชากร พบว่า เพศ และคณะของนักศึกษาที่แตกต่างกันทำให้ทัศนคติการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ด้านความรู้สึก ด้านการเรียน และด้านสังคมของนักศึกษาแตกต่างกันตามลำดับ เมื่อจำแนกตามพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาพบว่า ช่วงเวลาที่ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่แตกต่างกัน ทำให้ทัศนคติการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ด้านความคิดของนักศึกษาแตกต่างกัน

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. หน้า 9-19.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิระศักดิ์ พึ่งจาบ. (2558). หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมออนไลน์. ค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2559, จาก http://5822011301.blogspot.com.

ธานินทร์ ศิลปจารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ด ยูเคชั่น.

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2557). สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนการสอน. ค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2559. จาก http://smforedu.blogspot.com/2014/02/blog-post.html?

พิศมัย หาญมงคลพิพัฒน์. (2558, 26 มิถุนายน). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตหลักสูตร เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติ ครั้งที่ 6, (หน้า 503-516). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2554). พฤติกรรมสารสนเทศ. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2560. จาก https://ruchareka.wordpress.com/2011/07/15/พฤติกรรมสารสนเทศ-information-behaviour.

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2560). สถิตินักศึกษาจำแนกสภาพ ตามปีที่รับ. ค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2560. จาก http://reg.dru.ac.th/registrar/studentByProgram.asp?

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มบูรณาการข้อมูลสถิติ สำนักสถิติพยากรณ์.

อรุณรัตน์ ศรีชูศิลป์ และอนิรุทธ์ สติมั่น. (2555). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษา ปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ. รายงานสืบเนื่องจาก การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง บูรณาการการเรียนรู้ออนไลน์ประชาคมอาเซี่ยน: นโยบายและกระบวนการ. (หน้า 204-211). กรุงเทพมหานคร.

Abbas, J., et al. (2019). The impact of social media on learning behavior for sustainable education: Evidence of students from selected universities in Pakistan. Sustainability. 11(1683), pp. 1-23.

Abdulahi, A., Samadi, B. and Gharleghi, B. (2014). A study on the negative effects of social networking sites such as facebook among Asia Pacific University Scholars in Malaysia. International Journal of Business and Social Science. 5(10), pp. 133-145.

Anatasi, A. (1976). Psychological testing. New York: MacMillan.

Gok, T. (2016). The effects of social networking sites on students’ studying and habits. International Journal of Research in Education and Science. 2(1). pp. 85-93.

Hunt, T. and Ruben, B. D. (1993). Mass Communication Producers and Consumers. New York: Harper Collins.

Mensah, S. O. (2016). The impact of social media on students’ academic performance-a case of Malaysia Tertiary Institution. International Journal of Education, Learning and Training. 1(1), pp. 14-21.

Meşe, C. and Aydın, G. S. (2019). The use of social networks among university students. Educational Research and Reviews. 14(6), pp. 190-199.

M-Saleh, H. M., Abdul, Z. K. and Ameen, A. A. (2017). The effect of facebook on academic performance for undergraduate students at Charmo University. International Journal of Computer & Technology. 16(2), pp. 7596-7602.

Rahman, N. (2014). The usage and online behavior of social networking sites among international students in New Zealand. The Journal of Social Media in Society 3(2), pp. 65-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28