ความตื่นตระหนกทางวัฒนธรรมในห้องเรียนของนักศึกษาชาวอเมริกันในมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความตื่นตระหนักทางวัฒนธรรม, นักศึกษาชาวอเมริกัน, มหาวิทยาลัยนานาชาติบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความตื่นตระหนกทางวัฒนธรรมในห้องเรียนของนักศึกษาชาวอเมริกันในมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความตื่นตระหนกทางวัฒนธรรมในห้องเรียนของนักศึกษาชาวอเมริกันในมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาชาวอเมริกัน ระดับชั้นปีที่ 1- 4 รวมทั้งหมด 15 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาชาวอเมริกันมีความตื่นตระหนกทางวัฒนธรรมในห้องเรียนดังนี้ (1) นักศึกษาชาวอเมริกันจะมีระยะห่างเชิงอำนาจต่ำ นักศึกษาสามารถถามคำถามและโต้แย้งกับอาจารย์ได้ (2) นักศึกษาชาวอเมริกันมีความเป็นปัจเจกนิยม มีความมั่นใจในแนวคิดของตนเอง สามารถตัดสินใจทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองได้ แสดงความคิดเห็นเป็นของตนเองไม่เอนไปตามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ (3) นักศึกษาชาวอเมริกันมีการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนต่ำ มีความมั่นใจและกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ถึงแม้ไม่มั่นใจในคำตอบก็ตาม (4) นักศึกษาชาวอเมริกันมีการกำหนดแผนระยะยาวสำหรับอนาคต คำนึงถึงประโยชน์และความรู้ที่ได้รับจากรายวิชาที่เรียนมากกว่าวิชาที่สามารถได้เกรดง่าย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตื่นตระหนกทางวัฒนธรรมในห้องเรียน คือ ปัยจัยด้านความแตกต่างทางการรับรู้และวิธีคิดที่แตกต่างกันของนักศึกษาไทยและนักศึกษาอเมริกัน
References
ชุติมา สุดจรรยา และเทื้อน ทองแก้ว. (2562). ความเป็นนานาชาติ: ความสำคัญของสถาบันอุดมศึกษาไทย ในเวทีระดับนานาชาติ. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 32(2), น. 70 – 87.
สุนทรี ไชยปัญหา และอุรารักษ์ ศรีประเสริฐ. (2559). แนวคิด ทฤษฎีวัฒนธรรมการจัดการ: การปรับตัว ภายใต้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม. วารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. 1(2), น.104 - 111.
Baier, S. T. (2005). International students: Culture shock and adaptation to the US culture. Practical anthropology. 11(4), pp.177-182.
Batonda, G., & Perry, C. (2003). Influence of culture on relationship development processes in overseas Chinese/Australian networks. European Journal of Marketing. 22(1), pp. 110-122.
Furnham, A., & Bochner, S. (1986). The psychology of behaviour at work. London: University college London.
Gudykunst, W., & Kim, Y. (1992). Intercultural Communication Theory. Thousand Oaks, CA: Sage.
Hofstede, G. (2005). Cultures and organizations: Software of the mind. New York: McGraw-Hill.
Jefwa, J. J. (2009). Identifying and managing cross-cultural differences in the classroom: A case study of USIU. Journal of Language, Technology & Entrepreneurship in Africa. 1(2), pp.120-127.
Meissonier, R., Houzé, E., & Bessière, V. (2013). Cross-cultural frictions in information system management: Research perspectives on ERP implementation misfits in Thailand. International Business Research. 6(2), p.150
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว