This is an outdated version published on 2021-06-28. Read the most recent version.

แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวต้นแบบ เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุชาดา ธโนภานุวัฒน์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, เส้นทางท่องเที่ยวต้นแบบ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, เขตธนบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวต้นแบบเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวในเขตธนบุรี ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวในเขตธนบุรี พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวต้นแบบ และประเมินเส้นทางการท่องเที่ยวต้นแบบ เพื่อสร้างแนวทางการจัดการ กลยุทธ์การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวต้นแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลมีทั้งการวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การท่องเที่ยวในเขตธนบุรี มีศักยภาพการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากเพียง 2 แขวง ได้แก่ แขวงตลาดพลู รองลงมาคือ แขวงวัดกัลยาณ์ 2) นักท่องเที่ยว มีความเห็นว่าปัจจัยทางการตลาดในภาพรวม จำนวน 7 ด้าน มีผลต่อความต้องการท่องเที่ยวในระดับมาก โดยบุคลากร/คนในชุมชน มีผลต่อความต้องการท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว 3) เส้นทางการท่องเที่ยวในเขตธนบุรี มีจำนวน 2 เส้นทาง คือ เส้นทางท่องเที่ยวแขวงวัดกัลยาณ์ และเส้นทางท่องเที่ยวแขวงตลาดพลู 4) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อเส้นทางท่องเที่ยวแขวงวัดกัลยาณ์โดยภาพรวมมากที่สุดต่างจากเส้นทางท่องเที่ยวแขวงตลาดพลูที่มีความพึงพอใจต่อเส้นทางท่องเที่ยวโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 5) แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวต้นแบบเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตธนบุรี พบว่า มีจำนวน 7 ด้าน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด บุคลากร/คนในชุมชน กระบวนการให้บริการ และการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชนัญ วงษ์วิภาค. (2551). นิเวศวิทยาวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทรงพล จิตต์โกศล. (2560). แนวทางการส่งเสริมเส้นทางทัวร์ไหว้พระฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยพะเยา

ทัศนีย์ นาคเสนีย์. (2554). การศึกษาเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวตามรอยอารยธรรมทวารวดี-ขอมใน จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ธเนศ ศรีสถิต และวรรณา คำปวนบุตร. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว บนฐานเชิงนิเวศวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ตดำบลพระธาตุ อำเภอนาดูล จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ : วีอินเตอร์ พริ้นท์.

บุญพิเชษฐ์ จันทร์เมือง. (2553). การจัดการท่องเที่ยวในพระอารามหลวงชั้นเอกในเกาะรัตนโกสินทร์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มณฑา เพ็ชรวรรณ และปิยะรัตน์ แสงเพชร. (2557). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสม ต่อแหล่งท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษาตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

วิศัลย์ โฆษิตานนท์. (2557). หล่มเก่า...เมืองหลบ เมืองสงบ เมืองเสน่ห์. องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ และสภาวัฒนธรรม จังหวัดเพชรบูรณ์.

สถาพร ถาวรอธิวาสน์. (2555). การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมตามวิถีชุมชนลุ่มแม่น้ำท่าจีน จังหวัดชัยนาท. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

อดิชาติ บัวขาว. (2559). เส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะกับความหลากหลายทางศาสนา และวัฒนธรรม บริเวณชุมชนโบราณแขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้า อิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อิศริย์ เดชตานนท์ และคณะ. (2559). การศึกษากลยุทธ์การจัดการเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ของจังหวัดนครราชสีมา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc

Harvey M. Rubstein. (1992). Pedestrain Mall, Street Scap and Urban Scapes. USA: John Wille & Son Ins.

Kotler, P., Armstrong, G., Wong, V. and Saunders, J. (2008). Principles of marketing. 5th ed. Harlow: Pearson.

Richard K. Unterman. (1984). Accommodation The Pedestrian. NY: Vannostrand reinhold.

Richards, Greg. (1995). Cultural tourism in Europe. UK: Biffles. Guildford

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28

Versions