รูปแบบการผนึกกำลังระหว่างกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยีกับกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ

ผู้แต่ง

  • อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์ สาขาวิชาอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการผนึกกำลัง, กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยีกับกลุ่มสาขาวิชา, สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการผนึกกำลังระหว่างกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยีกับกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน 2) วิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และ 3) พัฒนารูปแบบการผนึกกำลังระหว่างกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยีกับกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ให้สัมภาษณ์ 9 คน ผู้ตอบแบบสอบถาม 138 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบ 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน มีการเน้นการบูรณาการหลักสูตร องค์ความรู้ แนวคิดในการสร้างนวัตกรรม ศิลปกรรมกับวิทยาศาสตร์ ศิลปกรรมกับนวัตกรรม กระบวนการคิดสร้างสรรค์ การนำศาสตร์มารวมกัน โดยสามารถบูรณาการข้ามศาสตร์ การจัดทำหลักสูตรเป็น Blended และการบูรณาการในลักษณะของ Interdisciplinary 2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย (1) การนำการวิจัยและการบริการวิชาการมาพัฒนาการเรียนการสอน (2) การเน้นความสำคัญที่ผลลัพธ์ของผู้เรียน (3) การทำงานเป็นทีม (4) การบูรณาการทฤษฎีและองค์ความรู้ และแนวคิดในการสร้างนวัตกรรม และ 3) การพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผลที่มุ่งเน้นการผนึกกำลังทางด้านวิชาการเพื่อการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี กับทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ประกอบด้วย (1) การบริหารจัดการและงบประมาณ (2) อาจารย์ผู้สอน (3) ศาสตร์และเนื้อหาการเรียนรู้ (4) กิจกรรมการเรียนรู้ (5) การวัดและประเมินผล

References

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). หลักและพื้นฐานการอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Babbie, E. R. (1990). Survey Research Methods. Wadsworth Pub. Co,, Belmont, Calif, 3(9): pp. 39-54.

Balbachevsky, Elizablth. (2014). “The Role of The Main Stakeholders in Shaping The Dynamics in Higher Education Policies: The Brazilian Experience”. ResearchGate. Paper presented at the 26th Annual CHER Conference (Consortium of Higher Education Researchers), from 9 to 11 September 2013 at the University of Lausanne, Switzerland. [cited 2020 August 9] Available from: https://www.researchgate.net/publication/26093640.

Community Education Coalition. (2020). CEC Milestones. [cited 2020 January 16] Available from: https://educationcoalition.com/.

Hillman, Nicholas. (2016). “The Coalition’s Higher Education Reforms in England” Oxford Review of Education. 42: 3, pp. 330-345, [cited 2020 August 21] Available from: https://doi.org/10.1080/03054985.2016.1184870.

Mulnix, Michael William, Cojanu, Kevin, Pettine, Susan B. (2011). “Critical Role of The Dominant Coalition in Higher Education Marketing Strategy Formulation” Research in Higher Education Journal. 11. [cited 2020 August 29] Available from: https://www.aabri.com/manuscripts/11784.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28