การกำกับและสร้างละครออนไลน์ด้วยแนวคิดละครชุมชน เพื่อสื่อสารและสร้างการรับรู้ใหม่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ชุมชน กรณีศึกษา มินิซีรีส์ชุด Spirit of Smart KKU

ผู้แต่ง

  • พชญ อัคพราหมณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ละครออนไลน์, ละครชุมชน, ละครประยุกต์, กำกับการแสดง, วิจัยการแสดง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนำเสนอวิธีการและกระบวนการกำกับและสร้างละครออนไลน์ โดยนำแนวคิดละครชุมชนมาเป็นฐานคิดร่วมกับหลักการกำกับภาพยนตร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อนำเสนอและสื่อสารอัตลักษณ์ใหม่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปยังกลุ่มผู้ชมเป้าหมายในชุมชน การดำเนินงานวิจัยแบ่งขั้นตอนออกเป็น 3 กระบวนการ ได้แก่ 1. การออกแบบความคิดของผู้กำกับเพื่อสร้างละคร 2. การกำกับและสร้างละคร 3. การจัดแสดงและประเมินคุณค่าผลงานละคร ผลการดำเนินงานวิจัยพบว่า 1. ผลงานละครออนไลน์เรื่อง Spirit of Smart KKU มีจำนวน 3 ตอน ความยาวทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 27 นาที สามารถใช้เป็นสื่อกลางเพื่อนำเสนอและสร้างความเข้าใจอัตลักษณ์ของชุมชนใหม่ที่สะท้อนแนวคิดเรื่อง “การอุทิศตนเพื่อชุมชนและสังคม” ไปยังผู้ชมในชุมชนได้ 2. การรับชมละครออนไลน์ผ่านช่องทางเฟสบุ๊คแฟนเพจระหว่างวันที่ 24-25 กันยายน 2564 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 26,400 ครั้ง คิดเป็นค่าเฉลี่ยการเข้าชมร้อยละ 51.82 ของจำนวนประชากรในชุมชน และผลงานละครสามารถสื่อสารความคิดของเรื่องไปยังผู้ชมในระดับที่ “สร้างการรับรู้” แก่ผู้ชม 3. ผู้คนภายในชุมชนเกิดความรักและความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์และความเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่นมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการนำเสนอเรื่องราวที่สะท้อนความทรงจำและความผูกพันที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่และสถานที่ การนำเสนอภาพวิถีชีวิตของชุมชน ตลอดจนเรื่องราวของตัวละครที่สะท้อนความจริงของบุคคลและเหตุการณ์ในชุมชน 4. กลุ่มผู้มีส่วนร่วมมีโอกาสสัมผัสบรรยากาศในพื้นที่ชุมชนอย่างใกล้ชิดจากกระบวนการถ่ายทำการแสดง ส่งผลให้เกิดความรู้สึกผูกพัน และภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ชุมชน อีกทั้งยังเป็นการบ่มเพาะนักปฏิบัติศิลปะ-ศิลปินรุ่นใหม่ และเพิ่มพูนความและรู้ประสบการณ์ตรงจากการร่วมปฏิบัติงานสร้างสรรค์ละครในพื้นที่โครงการวิจัย

References

พรรัตน์ ดำรุง. (2564). วิจัยการแสดง สร้างความรู้ใหม่ด้วยการทำละคร. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2562). แผนยุทธศาสตร์การบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.2563-2566.

ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Alfi, Y. (1998). Community Theater. Jerusalem: Domino Press.

Darymple, J. (1977). Community Theater: From Picking the Plays to Taking the Bows.

New York: Drake Publishers.

Eugene van Erven. (2001). Community Theatre Global Perspective. London: Routledge.

Gard, R. (1999). Grassroots Theatre. Madison, WI: The University of Wisconsin Press.

Mda, Z. (1993). When People Play People. London: Zed Books.

Miller, L. (1979). Creativity and Identity: Social Drama and Social Action, Articles in Community Work

: 242–8.

Mulenga, L. C. (1993). Community-Based Theater Group in Zambia. Zambia: Institute for African

Studies, University of Zambia.

Michael Rabiger and Mick Hurbis-Cherrier. (2013). Directing Film Techniques and Aesthetics.

Burlington: Focal Press.

Petra Kuppers. (2007). Community Performance an Introduction. London: Routledge.

Robert Klenner. (2019). Directing Screen Performances. New York: Bloomsbury.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29