จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมในการตีพิมพ์
วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

           วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมุ่งเน้นการตีพิมพ์วารสารที่มีคุณภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการ เป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความตามข้อกำหนดของ Committee on Publication Ethics (COPE) จึงกำหนดจริยธรรมในการตีพิมพ์ ดังนี้   

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

1. ผู้นิพนธ์จะต้องรับรองว่าบทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ต้องเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ที่ใดมาก่อน รวมถึงไม่อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น

2. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยจริง และรับผิดชอบต่อข้อสรุปและข้อคิดเห็น ในบทความที่นำมาตีพิมพ์

3. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงาน ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากนำผลงานนั้นมาใช้ในบทความของตนเอง และต้องจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความให้สมบูรณ์

4. บทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ ต้องผ่านการตรวจสอบความซ้ำซ้อนด้วยระบบอักขราวิสุทธิ์ โดยมีเกณฑ์การตรวจสอบไม่เกิน 20%

5. ผู้นิพนธ์ต้องปรับบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบบทความที่วารสารกำหนด

6. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนดำเนินการในบทความจริง

7. หากเป็นบทความที่ได้รับทุนสนับสนุน ผู้นิพนธ์ควรระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในบทความ หรือต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างชัดเจน (ถ้ามี)

8. หากบทความของผู้นิพนธ์เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ทดลอง หรืออาสาสมัคร ผู้นิพนธ์ต้องดำเนินการตามหลักจริยธรรมในมนุษย์อย่างเคร่งครัด และต้องส่งใบรับรองจริยธรรมในมนุษย์จากบทความที่ส่งพิจารณาตีพิมพ์                             

9. หากบทความของผู้นิพนธ์ถูกพิจารณาแล้วว่าไม่ผ่านเกณฑ์ของวารสาร บรรณาธิการ และ/หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิมีสิทธิ์ปฏิเสธการรับตีพิมพ์ทันที

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

1.ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลบทความที่พิจารณาแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินที่ยังไม่แล้วเสร็จ

2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์

3. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญ และประเมินตามกระบวนการ โดยปราศจาก อคติ และความคิดเห็นส่วนตัวมาเป็นเกณฑ์ในการประเมิน

4. ผู้ประเมินต้องพิจารณาบทความโดยคำนึงถึงคุณภาพ ความชัดเจน ความถูกต้องของเนื้อหา คุณภาพการวิเคราะห์และความเข้มข้นของบทความ

5. หากผู้นิพนธ์ไม่ได้กล่าวถึงผลงานสำคัญที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมินด้วย ผู้ประเมินต้องระบุเพิ่มในการประเมินบทความเพื่อประโยชน์ต่อการปรับแก้และคุณภาพของบทความ

6. หากบทความมีความเหมือน ความซ้ำซ้อน หรือการคัดลอกผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบทันที

7. ผู้ประเมินต้องประเมินผลงานภายในระยะเวลาที่บรรณาธิการกำหนด

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)

1.บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพและรูปแบบของบทความตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร โดยปราศจากอคติต่อบทความและผู้นิพนธ์

2. บรรณาธิการวารสารต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

3. บรรณาธิการวารสารต้องพิจารณากลั่นกรอง คัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินแล้ว โดยต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของบทความ หรือผลการประเมินคุณภาพของบทความจากผู้ประเมิน

4. บรรณาธิการวารสารต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว และต้องตรวจสอบบทความโดยใช้ โปรแกรมที่เชื่อถือได้ หากพบว่ามีความเหมือน ความซ้ำซ้อน หรือการคัดลอกผลงานอื่นๆ (Plagiarism) บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันที เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์

5. บรรณาธิการวารสารจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

6. บรรณาธิการวารสารต้องรักษามาตรฐาน และพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและทันสมัยเสมอ