การประยุกต์ใช้ท่าโขนเพื่อการออกกำลังกายตามหลักการฝึกหนักสลับเบาที่ความหนักสูง
คำสำคัญ:
การออกกำลังกายตามหลักการฝึกหนักสลับเบาที่ความหนักสูง, ความอดทนของระบบไหลเวียดเลือด, การประยุกต์ท่าโขนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาการประยุกต์ใช้ท่าโขนเพื่อการออกกำลังกายตามหลักการฝึกหนักสลับเบาที่ความหนักสูง เพื่อเพิ่มความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด และลดปริมาณไขมันในร่างกาย 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเพิ่มความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและลดปริมาณไขมันในร่างกาย ก่อนและหลังการใช้ท่าโขนเพื่อการออกกำลังกายตามหลักการฝึกหนักสลับเบาที่ความหนักสูง และ 3) เพื่อวัดความพึงพอใจที่มีต่อการประยุกต์ใช้ท่าโขนเพื่อการออกกำลังกายตามหลักการฝึกหนักสลับเบาที่ความหนักสูง สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคคลที่มีอายุอยู่ระหว่าง 20-25 ปี เป็นผู้ที่ศึกษาหรือทำงานอยู่ภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 20 คน การวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนซ้ำเมื่อมีการวัด (one-way repeated measures) , ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) การประยุกต์ใช้ท่าโขนเพื่อการออกกำลังกายตามหลักการฝึกหนักสลับเบาที่ความหนักสูง มีทั้งหมด 7 กิจกรรม โดยเพิ่มความหนักของการฝึกเพิ่มขึ้นในแต่ละกิจกรรม พัฒนาท่าที่ใช้ออกกำลังกายจากท่าโขนลิงที่ใช้การเคลื่อนไหวคล่องแคล่วว่องไว และวิธีการออกกำลังกายตามหลักการฝึกหนักสลับเบาที่ความหนักสูง (HIIT) อัตราส่วนการออกกำลังกายหนักและเบาอยู่ที่ 30:30 วินาที ใช้เวลาทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวมทั้งหมดจำนวน 18 ครั้ง มีความเหมาะต่อการพัฒนาความอดทนระบบไหลเวียนเลือด และลดปริมาณไขมันในร่างกาย 2) ผลเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่าความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดด้วยการวัดชีพจร พบว่าชีพจรขณะพักลดลงซึ่งถือว่ามีความอดทนระบบไหลเวียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ในส่วนความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดด้วยการทดสอบบี๊บเทส (Beep Test) พบว่าความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดมีความอดทนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปริมาณไขมันในร่างกาย ด้วยการวัด Body Fat Caliper ปริมาณไขมันในร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการประยุกต์ใช้ท่าโขนเพื่อการออกกำลังกายตามหลักการฝึกหนักสลับเบาที่ความหนักสูง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.49, S.D. = 0.64)
Downloads
References
นภัสกร ชื่นสิริ. (2557). การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงและที่ความหนักสูงมากต่อการใช้พลังงาน องค์ประกอบของร่างกาย และการทำงานของหลอดเลือด. วิทยานิพนธ์ (วท.ด.) (วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต) กรุงเทพ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร
นันทกร ทองแตง. (2562). โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs). สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2664, จากhttps://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1371
ถาวร มาต้น. (2557). การป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง = Prevention and control of chronic non-communicable diseases & related research. สุโขทัย: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตจังหวัดสุโขทัย.
วิสาขา แซ่อุ้ย, และ ระวิวรรณ วรรณวิไชย. (2559-2560, กันยายน-กุมภาพันธ์). การเคลื่อนไหวบำบัด : กิจกรรมผู้สูงอายุ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 3(2). สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2564, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/faa/article/view/73647
Eather, N., Riley, N., Miller, A., Smith, V., Poole, A., Vinceze, L., ..., & Rubans, D. R. (2019, May). Efficacy and feasibility of HIIT training for university students: The Uni-HIIT RCT. Journal of Science and Medicine in Sport. 22(5):596-601 Retrieved December 25,2021, from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1440244018302433
Grace, F., Herbert, P., Elliott, A. D., Richards, J., Beaumont, A., & Sculthorpe, N. F. (2018, August). High intensity interval training (HIIT) improves resting blood pressure, metabolic (MET) capacity and heart rate reserve without compromising cardiac function in sedentary aging men. Experimental Gerontology. (n.d.)(109):75-81 Retrieved December 25,2021, from http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0531556516306003
Holloway, K., Roche, D., & Angell, P. (2018, July). Evaluating the progressive cardiovascular health benefits of short-term high-intensity interval training. European Journal of Appiled Physiology. 118(n.d.):2259-2268 Retrieved December 26,2021, from https://link.springer.com/article/10.1007/s00421-018-3952-6#Abs1
Hyun, A. H. (2021, December). Effect of Real-Time Online High-Intensity Interval Training on Physiological and Physical Parameters for Abdominally Obese Women: A Randomized Pilot Study. MDPI appiled sciences. 11(24). Retrieved December 26,2021, from https://www.mdpi.com/2076-3417/11/24/12129
Kordi, M., Choopani, S., Hemmatinafa, M., & Choopani, Z. (2013, n.d.). The effects of the six week high intensity interval training (HIIT) on resting plasma levels of adiponectin and fat loss in sedentary young women. Journal of Jahrom University of Medical Sciences. 11(1):20-27. Retrieved December 26,2021, from https://pdfs.semanticscholar.org/30b8/83948d67cbc500bb3673634c69b4feac3c9f.pdf
MGR Online. (2559). เรียน “โขน” ประโยชน์คูณสอง “ออกกำลังกาย-ได้สืบสานวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2664, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9590000111637
Wen, D., Utesch, T., Wu, J., Robertson, S., Liu, J., Hu, G., & Chen, H. (2019, August). Effects of different protocols of high intensity interval training for VO2max improvements in adults: A meta-analysis of randomised controlled trials. Journal of Science and Medicine in Sport. 22(8), 941-947. Retrieved December 26,2021 from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1440244018309198#
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ