การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการแปลในระดับประโยค: กรณีศึกษาการแปล นวนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์
คำสำคัญ:
การศึกษาเปรียบเทียบ, กลวิธีการแปล, ประโยค, นวนิยายเรื่อง 1984บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการแปลในระดับประโยคในสำนวนแปลภาษาไทยสองสำนวนของนวนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์ และเพื่อพิจารณาสัมฤทธิผลของการถ่ายทอดความหมายผ่านการแปล ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีการแปล 5 กลวิธี ได้แก่ การคงลักษณะการเรียงคำในประโยคตามต้นฉบับ การปรับวิธีเรียงคำในประโยค การปรับรูปประโยคกรรมวาจกเป็นกรรตุวาจก การรวมประโยคในต้นฉบับเข้าด้วยกัน และการแยกประโยคจากต้นฉบับ กลวิธีเหล่านี้พบได้ในสำนวนแปลภาษาไทยในนวนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์ ทั้งสองสำนวน มีเพียงวิธีการละไม่แปลเท่านั้นที่พบเฉพาะในสำนวนที่ 1 ทั้งนี้เนื่องมาจากกลวิธีการแปลในระดับประโยคที่ปรากฏในสำนวนที่ 1 มีลักษณะเป็นการแปลแบบเอาความมากกว่า ขณะที่สำนวนที่ 2 มีลักษณะเป็นการแปลแบบตรงตัวมากกว่า ความแตกต่างของลักษณะการแปลดังที่กล่าวมาส่งผลต่อการถ่ายทอดความหมายของสำนวนแปลหรือนวนิยายฉบับแปลอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ การแปลแบบเอาความที่ปรากฏมากกว่าในสำนวนที่ 1 ทำให้สำนวนนี้สามารถสื่อความหมายของต้นฉบับไปยังผู้อ่านได้อย่างเทียบเท่ากับต้นฉบับ ทั้งยังสอดคล้องกับวัฒนธรรมการอ่านและการใช้ภาษาของผู้อ่านภาษาปลายทาง เพราะมุ่งรักษาความหมายของต้นฉบับเอาไว้มากกว่าจะรักษารูปแบบ ในขณะที่การแปลแบบตรงตัวซึ่งปรากฏมากกว่าในสำนวนที่ 2 รักษารูปแบบของการเสนอความคิดในตัวบทต้นฉบับไว้มากกว่าจะเน้นไปที่การรักษาความหมาย
Downloads
References
ธงชัย แซ่เจี่ย. (2565). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนแปลภาษาไทยสองสำนวนในนวนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ธงชัย วินิจจะกูล. (2561). “อำนาจกับการขบถ.” ใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่. หน้า 399-430. กรุงเทพฯ: สมมติ.
ปฐมา อักษรจรุง. (2545). ศิลปะการแปลไทยเป็นอังกฤษ. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สัญฉวี สายบัว. (2560). หลักการแปล. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
หอมหวล ชื่นจิตร. (2527). การแปล: อาชีพสู่ปวงชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักชั่น.
ออร์เวลล์, จอร์จ. (2557). หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่. พิมพ์ครั้งที่ 4. แปลจาก 1984 โดย รัศมี เผ่าเหลืองทอง และ อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์. กรุงเทพฯ: สมมติ.
ออร์เวลล์, จอร์จ. (2561). 1984 มหานครแห่งความคับแค้น. แปลจาก 1984 โดย สรวงอัปสร กสิกรานันท์. กรุงเทพฯ: แอร์โรว์ คลาสสิกบุ๊คส์.
อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2548). หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Orwell, George. (1992). Nineteen eighty-four. London: David Campbell.
Oxford University Press. (2022). Somehow. Retrieved November 22, 2022, from
https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/english/somehow?q=somehow
Reiss, Katharina. (2014). Translation Criticism – The Potentials and Limitations. Translated by Erroll F. Rhodes. New York: Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ