แนวทางบริหารงานประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร

Main Article Content

อัจฉราพรรณ ขัดทาน
ประจบ ขวัญมั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู จำแนกตามประสบการณ์และขนาดสถานศึกษา และ 3) หาแนวทางบริหารงานประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู สังกัด สพม.กำแพงเพชร เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างข้าราชการครู 297 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล 17 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การแจกแจงความถี่ (f) ค่าร้อยละ (%) การทดสอบค่าที (t-test Independent) และการหาค่าความแปรปรวนทางเดียว (F-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพการบริหารงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ตามลำดับ
2) ปัญหาการบริหารงาน คือ ครูขาดความรู้ความเข้าใจด้านการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ขาดการจัดทำข้อมูลของผู้เรียนและรายวิชาในรูปแบบสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและผู้บริหารสถานศึกษามีข้อจำกัดในการให้คำปรึกษาเพิ่มเติมในการพัฒนาการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3) ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานตามประสบการณ์ ไม่แตกต่างกัน
4) ผลการเปรียบเทียบสภาพการงานตามขนาดของสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน
5) แนวทางบริหารงาน พบว่า สถานศึกษาควรส่งเสริมการจัดกิจกรรมเสวนาสะท้อนผลหลังการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการข้อมูลรวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนควรสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ร่วมกัน

Article Details

How to Cite
ขัดทาน อ. ., & ขวัญมั่น ป. . (2025). แนวทางบริหารงานประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 12(1), 1–15. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/274304
บท
บทความวิจัย

References

ประวิต เอราวรรณ์. (2562). การสังเคราะห์ระบบและแนวทางการปฏิรูปการพัฒนาวิชาชีพครู: จากแนวคิดการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสู่การปฏิบัติ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 11(2), 160-176. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/208090

พรรณทิภาภรณ์ อภิปริญญา. (2562). สภาพและปัญหาของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 14(2), 1-12. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/

OJED/article/view/193342

พระมหาพชรพล พชรเมโธ. (2566). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์ฯ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(3), 1,056-1,067. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/265195

พัฒณา มะลิวัลย์ และ รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (27-28 มีนาคม 2561). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10.

มณีรัตน์ สุดเต้ และคณะ. (2563). ภาวะผู้นําทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 344-362. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/

JMND/article/view/246269

ศศิธร สังข์ลาโพธิ์. (2567). แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 2(1), 79-96. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-

SRRU/article/view/2559

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. (2566).รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566. กำแพงเพชร: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู. สำนักงาน ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุกัญญา สิกะพงค์ และ รุจิราพรรณ คงช่วย. (2567). การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ในจังหวัดสงขลา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 9(2), 2,437-2,452. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/277355

อรินทร์ญา พันธุรักษ์ และคณะ. (2566). แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. Journal of Social Science Panyapat, 5(2), 285-296. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/261477

อวัศยา แสงทอง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดจันทราวาส. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร).

อิสระ ดีครัน. (2564). แนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนพบพระ-วาเล่ย์-รวมไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 8(2), 55-29. https://so09.tci-thaijo.org/index.php/

AJntc/article/view/1683

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607–610.