รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 12

Main Article Content

ภคพร เลิกนอก
กนกอร สมปราชญ์
เอกราช โฆษิตพิมานเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและกรอบแนวคิดของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 12 2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 12 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 12 และ 4) ประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 12 เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Explanatory Mixed Methods Research) การเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเริ่มจากการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อให้ได้องค์ประกอบหลัก ตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้ของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 12 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 12 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์สำหรับกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเป็น 15 เท่า ของจำนวนตัวแปร ตามแนวคิดของ Hair et al การกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 330  คน  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงทั้งฉบับ เท่ากับ 0.988 แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ความและเป็นประโยชน์ของรูปแบบ  
ผลการวิจัยพบว่า   
1. องค์ประกอบของการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก และ 16 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) การพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพดิจิทัล (Digital Professional Development) ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ 2) การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (Digital Vision) ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ 3) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล (Digital Age Learning) ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ 4) การรู้ดิจิทัลการรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ 5) การสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้
  2. โมเดลการวัดองค์ประกอบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นบานในเขตตรวจราชการที่ 12 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นไปตามเกณฑ์ทุกค่า ซึ่ง (x2) = 178.341, (df) = 99, (p-value) =0.065 (x2/df) = 1.86, CFI = 0.947, TLI = 0.936, RMSEA = 0.049, SRMR = 0.040
3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการ
ที่ 12 ประกอบไปด้วย 1) ชื่อรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) หลักการ/แนวคิด 4) วิธีการปฏิบัติ 5) ผลลัพธิ์ที่คาดหวัง 6) เงื่อนไขความสำเร็จ
4. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 12 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ

Article Details

How to Cite
เลิกนอก ภ., สมปราชญ์ ก. ., & โฆษิตพิมานเวช . เ. . (2024). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 12. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 11(3), 131–142. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/270304
บท
บทความวิจัย

References

ชุติรัตน์ กาญจนาธงชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2554). สภาพปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพ้นฐานของส่วนการศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เซ๊นจูรี.

สมาน อัศวภูมิ. (2561). ทบทวนแนวคิดและวิธีวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบและการพัฒนารูปแบบ. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวทยาลัยอุบลราชธานี, 8(1), 1-13.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). รายงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2562). CFR กลไกขับเคลื่อนให้การบริหารผลงานบรรลุผลสำเร็จ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

International Society for Technology in Education (ISTE). (2009). National educational technology standards for administrators.

Joint Committee on Standards for Education Evaluation. (1994). The Program Evaluation Standards. (2nd ed.). California: SAGE.