การพัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Mnemonic สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

Main Article Content

ถาวร วรบุตร
แสงอาทิตย์ ไทยมิตร
สมควร ข่าสะโปน
นิวัฒนา วรรณคำ
จารุวรรณ จันทรภัคดี
อานันท์ กรมน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค Mnemonic ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ โดยนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค Mnemonic กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จำนวน 42 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา ED1046 การฟัง-การพูดภาษาอังกฤษ 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา 3) แบบประเมินความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยด้านความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค Mnemonic ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 พบว่า นักศึกษามีความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ (μ=51.23), คิดเป็นร้อยละ 85.39 ของคะแนนเต็ม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ด้านความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค Mnemonic ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการพัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Mnemonic ในภาพรวมระดับมากที่สุด (μ =4.51, = 0.59)

Article Details

How to Cite
วรบุตร ถ., ไทยมิตร แ., ข่าสะโปน ส., วรรณคำ น., จันทรภัคดี จ., & กรมน้อย อ. (2024). การพัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Mnemonic สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 11(3), 270–281. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/269997
บท
บทความวิจัย

References

พิรมลักษณ์ ตันปาน. (2561). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวภาษาเพื่อการสื่อสาร ประกอบเทคนิคนีมโมนิคส์. (ปริญญาคุรุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

อภิเชษฐ์ ขาวเผือก. (2558). การพัฒนาเกมการศึกษาบนแท็บเล็ตโดยใช้เทคนิคช่วยจำเพื่อส่งเสริมความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสะแกงาม. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(2), 1416-1431.

Hunt. (1968). Mnemonology: Mnemonics for the 21st Century (p.84). New York: London: Psycology press.

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: DeakinUniversity.

Linse, C. T. & Nunan, D. (Ed). (2005). Practical english language teaching: Young learners. New York: McGrawHill ESL/ELT.

Mahmut K. (2018). Mnemonic Technique - An Effective Vocabulary Teaching Method to Plurilingual Students. Modern Journal of Language Teaching Methods (MJLTM), 388-400.

Zahra N.B. (2018). The Impact of Musical Mnemonic on Vocabulary Recalling of Iranian Young Learners. International Journal of Instruction, 977-994.