การจัดการทรัพยากรมนุษย์ บรรยากาศองค์การและการปรับตัวที่มีผลต่อ ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ บรรยากาศองค์การ การปรับตัว และความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง และ 2) ศึกษาความคิดเห็นด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ บรรยากาศองค์การและการปรับตัวที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ประชากร คือ บุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว
ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ทั้งหมด จำนวน 253 คน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยใช้สถิติพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับความคิดเห็นของด้านการปรับตัวมีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านบรรยากาศองค์การมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก และด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก
ตามลำดับ
2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter พบว่า ด้านบรรยากาศองค์การมีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านบรรยากาศองค์การมีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการปรับตัวไม่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กอปรลาภ อภัยภักดิ์ (2563). บรรยากาศองค์กรแห่งความสุข : คนเบิกบานงานสำเร็จ. วารสาร มจร มนุษย์ศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 315-331.
ฉัฐวีณ์ ฉายสุวรรณ์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหาร ส่วนตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ (2552). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นพมาศ ธีรเวคิน. (2551). ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปัญญวัฒน์ จุฑามาศ (2565). การจัดการองค์กรสู่องค์กรแห่งความสุขเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานของ พนักงานองค์กรเอกชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ, 11(1), 99-111.
พรรณฑิตา ทัศนิยม (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวในการทำงานและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพนักงานระดับหัวหน้างานในธุรกิจบรรจุภัณฑ์. วารสารจิตวิทยา, 19(1), 16-27.
แวสือมาน หามะ. (2564). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ยะลา: มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา.
ศิวพร วิยะวงศ์. (2564). แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนให้เกิดองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้าง ผลงานและขับเคลื่อนด้วยศักยภาพของบุคลากรเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานจังหวัดกลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล. (2566). นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของจังหวัดลำปาง ศาลากลางจังหวัดลำปาง. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566, จาก https://www.lampang.go.th/ita/Document/2566/O23_file66.pdf
หนึ่งฤทัย ขนานแข็ง (2562). การปรับตัวของสถาบันการเงินไทยเพื่อเป็นธนาคารดิจิทัล. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 377-388.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง. (2566). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566, จาก https://www.lp-pao.go.th/Main60/index.php/about-pao/2021-01-21-02-03-06/2016-11-07-04-12-31.html
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert Renie. (1970). A Technique for The Measurement of Attitude. Chicago.
Litwin, G. H. & Stringer, R. A. (1968). Motivation and Organization Climate. Bonton : Havard University Press.
Miles, J., & Shevlin, M. (2001). Applying regression and correlation: A guide for students and researchers. London: Stage.
Nunnally, J. C. (1959). “Attitude Measurement,” in The handbook of social psychology. (pp. 206-210). Massachusetts: Addison-Wesley.