ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 3) ศึกษาข้อเสนอพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลประยุกต์ตามหลักพรหมวิหาร 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 382 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 คนเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประชากรที่ตอบแบบสอบถามในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 51.80 มีอายุระหว่าง 61 ปีขึ้นไป จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 21.70การศึกษาอยู่ในระดับมัธยมตอนต้น จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 28.30ระดับความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวม ทั้ง 6 ด้าน คือ (1) ด้านนโยบายของผู้สมัคร (2) ด้านคุณลักษณะของผู้สมัคร (3) ด้านการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัคร (4) ด้านความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้สมัคร (5) ด้านหลักพรหมวิหาร 4 (6) ด้านการตัดสินใจเลือกตั้ง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3.99
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก จำนวน 6 ด้าน ด้านปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของประชาชน พบว่า หลักพรหมวิหาร 4 มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวก ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.13 ส่วนตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน นโยบายของผู้สมัคร คุณลักษณะของผู้สมัคร การรณรงค์หาเสียงของผู้สมัคร และความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้สมัคร ไม่มีความสัมพันธ์กันหลักพรหมวิหาร 4 เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งนี้โดยหลักพรหมวิหาร 4 มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นั่นคือหลักพรหมวิหาร 4 เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะทำให้พฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปลี่ยนไป ข้อเสนอแนะ พบว่า สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารคุณสมบัติของผู้สมัครก่อนที่จะเลือกตั้ง ส่งเสริมให้ประชาชนเลือกตั้งโดยการประยุกต์ตามหลักพรหมวิหาร 4 เพื่อประกอบการเลือกตั้ง ให้มีการประชาสัมพันธ์ ด้านนโยบายของผู้สมัครให้ประชาชน
รับทราบอย่างทั่วถึง การรณรงค์หาเสียงให้มีการประชาสัมพันธ์ถึงคุณลักษณะของผู้สมัคร ผลงานด้านต่าง ๆ ของผู้สมัครที่ได้ทำประโยชน์ให้กับประชาชนและชุมชนของแต่ละตำบล เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลให้มากที่สุดก่อนตัดสินใจเลือกตั้ง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขวัญหทัย แจ่มแจ้ง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: วิทยาลัยบูรพา.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย spss. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นงค์รักษ์ ต้นเคน. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการลงคะแนนเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคำเตย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปัทมกร ปุริโส. (2561). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 สำหรับวิชาชีพพยาบาล. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธนา: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยสื่อสารการเมืองมหาวิทยาลัยเกริก.
พระมหาสุรศักดิ์ สวณฺณกาโย (สีดาราช). (2563). การส่งเสริมหลักนิติธรรมในการปกครองของผู้นำท้องถิ่น ตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระวัจน์กร กนตวณโณ (พิมล). (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พันตำรวจโทหญิงชุติมา ศิริเมธาวี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี. (สารนิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.
ภาสวรรณ สิทธิกรณ์. (2564). พฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2564 ในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 7. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุงยุทธ พงษ์ศรี. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี : ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2562. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยสื่อสารการเมืองมหาวิทยาลัยเกริก.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก.
สติธร ธนานิธิโชติ. (2564). พฤติกรรมนิยม และสถาบันนิยมในการเมืองเรื่องการเลือกตั้งของไทย. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564 จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=พฤติกรรมนิยม และสถาบันนิยมในการเมืองเรื่องการเลือกตั้งของไทย
สุวรี ศิริโภคารภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: สถาบันราชภัฎเทพสตรี.
อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2545). ประชาธิปไตยท้องถิ่น : สาระสำคัญของการเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มิติใหม่.