การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียน ต่อการอาชีวศึกษาของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู

Main Article Content

ศิวกร อินภูษา
กิติมา สุรสนธิ
ตรัยรัตน์ ปลื้มปิติชัยกุล

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภูที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของการอาชีวศึกษา และ
2) ศึกษาผลของการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของการอาชีวศึกษาที่มีต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนต่อการอาชีวศึกษาของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภูการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งสิ้น 425 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสำหรับประชากรกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (t-test independence) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และ
ใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า
1) การรับรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัย เทคนิคหนองบัวลำภูที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของการอาชีวศึกษา พบว่า นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีการรับรู้เนื้อหาการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของวิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภูโดยรวมและทุกด้าน มีความแตกต่างกัน
2) ผลของการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของการอาชีวศึกษาที่มีต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนต่อการอาชีวศึกษาของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภูพบว่า การวิเคราะห์ความสัมพันธ์การรับรู้เนื้อหาการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ทุกด้านมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนต่อวิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู มีความสัมพันธ์ในระดับสูง ได้แก่ ด้านการประกอบอาชีพ ด้านค่าใช้จ่าย และด้านภาพลักษณ์การอาชีวศึกษา ตามลำดับ มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านสถานที่ และด้านการศึกษาต่อ ทุกด้านมีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน

Article Details

How to Cite
อินภูษา ศ., สุรสนธิ ก. ., & ปลื้มปิติชัยกุล ต. . (2023). การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียน ต่อการอาชีวศึกษาของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 10(4), 189–201. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/263179
บท
บทความวิจัย

References

กอบเกียรติ ยังเจริญ. (2563). การพัฒนาแนวทางประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความต้องการเลือกเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยการอาชีพไชยา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. (การค้นคว้าอิสระ). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ขวัญฤทัย สายประดิษฐ์. (2551). บทบาทนักประชาสัมพันธ์กับการประชาสัมพันธ์ในสื่อใหม่ ตอนที่ 1. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 20(65), 42-51.

เจริญขวัญ ด่านพัฒนานุรักษ์, สุกัญญา รุจิเมธาภาส และ หยกแก้ว กมลวรเดช. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อสายอาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์. Journal of Modern Learning Development, 7(7), 297-307.

ณฐวัฒน์ พระงาม. (2562). อิทธิพลสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักเรียนในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 17(1), 50-65.

ณัฐฐิติ บุญทรง และ ประภัสสร สมสถาน. (2565). การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่ออาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรงจังหวัดสุโขทัย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่, 8(2), 170-179.

ธนวรรณ สอ้าง และ ธนภพ โสตรโยม. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกเรียนประเภทวิชาคหกรรมในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 31(108), 119-127.

ธิดาพร ชนะชัย. (2550). สื่อใหม่. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2566, จาก http://athithandesign.blogspot.com/p/blog-page_70.html.

นลินรัตน์ อ่ำช้าง. (2564). การรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์กับภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยบูรพาในมุมมองของนิสิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บารมี โกนบาง. (2561). พฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการกับการเปิดรับสื่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พัชณี เพชรอาวุธ, สิริธร สินจินดาวงศ์ และ วีระ สุภากิจ. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 24-34.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2553). สื่อสังคมออนไลน์ : สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 3(2), 99-103.

วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู. (2566). คู่มือนักศึกษา ปีการศึกษา 2566. หนองบัวลำภู: งานประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2546). การประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศลักษณ์ บุณยรักษ์. (2565). รูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566). สถานศึกษาในสังกัด สอศ. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2566, จาก https://www.vec.go.th/

George, R.T., (1949). Consumer Behavior. Chicago: University of Chicago Press.