การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบการมีส่วนร่วมของผู้นำท้องถิ่น ในอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

พระปลัดสุพจน์ สุเมโธ (วารีบ่อ)
สุธิพงษ์ สวัสดิ์ทา
สุรพล พรมกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบการมีส่วนร่วมของผู้นำท้องถิ่น ในอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบการมีส่วนร่วมของผู้นำท้องถิ่น ในอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบการมีส่วนร่วมของผู้นำท้องถิ่น ในอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประยุกต์ตามหลักอิทธิบาท 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่นในอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 267 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท 
ผลการวิจัยพบว่า 
  1) ระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบการมีส่วนร่วมของผู้นำท้องถิ่น ในอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้ง 4 ด้าน คือ 1. ด้านร่างกาย 2. ด้านจิตใจ 3. ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม  4. ด้านสภาพแวดล้อม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านร่างกาย มีค่าเฉลี่ยมากสุดเท่ากับ 4.04 รองลงมา ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมด้านสภาพแวดล้อม และด้านจิตใจ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.00, 3.93 และ 3.87 ตามลำดับ 
2) ผลการเปรียบเทียบระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบการมีส่วนร่วมของผู้นำท้องถิ่นในอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ไม่แตกต่างกัน  
3) ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรเน้นการทำความเข้าใจกับสมาชิกเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของชมรมและบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน ติดตามข่าวสารความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุ แสวงหาแหล่งสนับสนุนความรู้ และผู้มีความรู้เฉพาะด้าน หรือภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ การจัดกิจกรรมได้สม่ำเสมอต่อเนื่องและหาเครือข่ายกับบุคคลและองค์กรทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนาภา ขําสุวรรณ. (2550). การจัดการกิจการชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสงขลา อําเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระมหาสุวิทย์ สิริวฑฺฒโน (พรหมเกิด). (2558). การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัชดา พรพิไลสวัสดิ์. (2548). การมีส่วนร่วมของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมสุขภาพ : ศึกษาเฉพาะกรณีอําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ. (2555). ลักษณะการดําเนินงานและกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ. (รายงานวิจัย, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรพิเชษฐ์ สุขโชติ และ อุบลวรรณ หงส์วิทยากร. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1549?mode=full

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2554). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน).

สำนักทะเบียนท้องถิ่นอําเภอห้วยผึ้ง. (2565). ข้อมูลสำนักทะเบียนท้องถิ่นอําเภอห้วยผึ้ง. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.nikhomhuaiphung.go.th/index/

สุรินทร์ นิยมางกูร. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อรุณี สุวรรณชาติ. (2557). การดําเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ ตําบลหนองแหน อําเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

Taro Yamane. (1967). Elementary sampling theory, (New Jersey: Prentice-Hall, lnc.