การพัฒนาชุดการสอน การบรรเลงพิณขั้นพื้นฐานสำหรับนักศึกษาหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิตชั้นปี ที่1 แขนงดนตรีพื้นเมือง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาประสิทธิภาพชุดการสอนการบรรเลงพิณขั้นพื้นฐาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อชุดการสอนการบรรเลงพิณขั้นพื้นฐาน ซึ่งใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้กลุ่มผู้เรียนจำนวน 5 คน เป็นนักศึกษาหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 แขนงดนตรีพื้นเมือง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระยะเวลาในการทดลองทั้งหมด 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 คาบ คาบละ 2 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดการสอนการบรรเลงพิณขั้นพื้นฐาน 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบทดสอบย่อย 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของ แบบฝึกทักษะ ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนการบรรเลงพิณขั้นพื้นฐานมีประสิทธิภาพ 81.3/86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อชุดการสอนการบรรเลงพิณขั้นพื้นฐานอยู่ที่ 4.27 ซึ่งอยู่ ในระดับเกณฑ์มีความพึงพอใจมากที่สุด
ดังนั้นสรุปได้ว่า การใช้ชุดการสอนการบรรเลงพิณขั้นพื้นฐานจากการทดสอบของกลุ่่มตัวอย่่าง ทำให้กลุ่่มตัวอย่่างเกิดประสิิทธิิภาพในเรีียนรู้้ เกิดทักษะการบรรเลงเครื่่องดนตรีพิณสูงสุดและมีีความพึึงพอใจในชุดการสอนการบรรเลงพิณขั้นพื้นฐาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ไขแสง ศุขะวัฒนะ. (2535). สังคีตนิยมว่าด้วย : ดนตรีตะวันตก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุษกร สำโรงทอง. (2551). พิณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสาท อิศรปรีดา. (2538). สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาสารคาม: โครงการผลิตเอกสารตํารา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุจริต เพียรชอบ. (2523). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.