การวิเคราะห์ปรัชญางานศพของชนเผ่าภูไท บ้านดงเหนือ ตำบลเหล่าใหญ่ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปรัชญางานศพของชนเผ่าภูไท 2) ศึกษาปรัชญา
งานศพของชนเผ่าภูไท บ้านดงเหนือ ตำบลเหล่า ใหญ่ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) วิเคราะห์ปรัชญางานศพของชนเผ่าภูไท บ้านดงเหนือ ตำบลเหล่าใหญ่ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 27 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
1) ปรัชญางานศพของชนเผ่าภูไทเป็นปรัชญาธรรมในพระพุทธศาสนาที่แฝงอยู่ในพิธีกรรมงานศพเพื่อให้แง่คิดว่าความตายเป็นสิ่งสุดท้ายของชีวิต ไม่มีใครหนีพ้นได้ และชนเผ่าภูไทได้มีขั้นตอนการจัดพิธีกรรมงานศพอย่างดีถือว่า เป็นการให้เกียรติ และการไว้อาลัยแก่ผู้ตาย
2) พิธีกรรมงานศพของชนเผ่าภูไท บ้านดงเหนือ แฝงไปด้วยคติความเชื่อที่เคยปฏิบัติสืบทอด
กันมาซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อต้องการให้บุคคลรุ่นหลังได้ข้อคิดแล้วนำไปถ่ายทอดเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดี
3) แนวคิดทางปรัชญาที่แฝงอยู่ในพิธีกรรมงานศพ ดังนี้ 1) พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในงานศพได้แก่ การอาบน้ำศพ การบวชหน้าศพ การทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย 2) ญาณวิทยาที่ปรากฏในงานศพ ได้แก่ การใช้สัญญาณบอกข่าว การปิดตา ปิดปากศพ การสวดมาติกา และ 3) อภิปรัชญาที่ปรากฏในงานศพ ได้แก่ การเอาเงินใส่ปากศพ การสวดพระอภิธรรม การเก็บอัฐิ เป็นต้น แนวคิดทางปรัชญาดังกล่าวนี้
จะมีอยู่ในพิธีกรรมงานศพของชนเผ่าภูไท บ้านดงเหนือทุกขั้นตอน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธีรานันโท. (2550). การตายและพิธีการทำบุญศพ. กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
บุญยืน ศิริรักษ์. (2552). การศึกษาประเพณีเกี่ยวกับการตายในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ศึกษาเฉพาะกรณีประเพณีเกี่ยวกับการตายในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรี อยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูกัลยาณธรรมโฆษ (รุ่ง กลฺยาโณ). (2554). การศึกษาคติธรรมจากประเพณีงานศพกรณีศึกษาชุมชน ตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดรังสรรค์ คุณสาโร (ตุ้มม่วง). (2564). การศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาการจัดงานศพของชาวพุทธจังหวัดร้อยเอ็ด. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมุห์มงคล เกสโร (ดีมาก). (2551). ศึกษาปริศนาธรรมจากพิธีกรรมงานศพ : ศึกษาเฉพาะกรณีพิธีกรรมงานศพในอำเภอดลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราขวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุเมธ เมธาวิทยกุล. (2532). สังกัปพิธีกรรม. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.ริ้นติ้ง เฮ้าส์.
เสถียร โกเศศ. (2539). ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต : ประเพณีเนื่องในการตาย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศยาม.