บทบาทและความสำเร็จของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทยชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2563 : กรณีศึกษาวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร The Role and Achievments of Studentss in Faculty of Education Major in Thai Language Teaching of 5th Year on 2020 : A Case Study of Yasothon Buddhist Collage

Main Article Content

พระมหาจิรายุทธ ปโยโค

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทยและครูพี่เลี้ยงในสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาตามความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3) ตรวจสอบระดับความคิดเห็นของแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจากผู้เชี่ยวชาญ และ 4) เพื่อศึกษาถึงบทบาทและความสำเร็จของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย และครูพี่เลี้ยงในสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ 48 รูป/คน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงคุณภาพ 20 คน ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทยและครูพี่เลี้ยงในสถานศึกษา ประกอบด้วย 8 ประเด็น คือ การเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกสอน, การประกันคุณภาพการศึกษา, การวัดและประเมินผลการศึกษา, การสร้างแรงบันดาลใจ, การปฏิสัมพันธ์ในสถานศึกษา, การเตรียมแผนการสอน, ค่าตอบแทน และสิทธิ์ย้ายโรงเรียนและนับเวลาฝึกได้อย่างต่อเนื่อง แนวทางในการพัฒนาพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ประกอบด้วย 7 ประเด็นคือ การเป็นครูต้นแบบหรือเป็นแม่แบบให้เด็กให้นักเรียน, การพัฒนาตนเอง, การเรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์, การมีส่วนร่วมในกิจกรรม, การมีจิตวิญญาณความเป็นครู, การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และ
การเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่วนระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์การสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์การสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ 3.88) และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนักศึกษา
ฝึกประสบการณ์การสอน ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาชีพครู, ด้านการส่งเสริมและพัฒนาตนเอง, ด้านการจัดการสอนในสถานการณ์ปัจจุบัน, ด้านการพัฒนากระบวนการ
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และด้านเจตคติของผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยงและของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Article Details

How to Cite
ปโยโค พ. . (2022). บทบาทและความสำเร็จของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทยชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2563 : กรณีศึกษาวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร: The Role and Achievments of Studentss in Faculty of Education Major in Thai Language Teaching of 5th Year on 2020 : A Case Study of Yasothon Buddhist Collage. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(2), 312–323. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/255092
บท
บทความวิจัย

References

ชาตรี ฝ่ายคําตา. (2553). กระบวนการพัฒนาอาจารย์ผู้สอนในการทำวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 33(1), 145-165.

เทพศักดิ์ บุณยรัตนพันธ์. (2550). เอกสารการเรียนรู้การทำวิจัยด้วยตนเอง. สถาบันวิจัยและพัฒนานนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เทอดทูน ค้าขาย และคณะ. (2560). การศึกษาสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. Sikkha Journal of Education, 6(2), 33-46.

นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์. (2560). การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University (ฉบับภาษาไทย), 10(2), 1317-1329.

นุชจนาถ สิงห์งอย และคณะ (2561). การประเมินโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตวิทยาลัยสงฆ์นครพนม สาขาวิชาสังคมศึกษา ปีการศึกษา 2561. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์, 2(1), 1-10.

วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2544). การประเมินทักษะกระบวนการและการแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุมาลี ศรีพุทธรินทร. (2562). การบริหารจัดการระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 “นวัตกรรมสร้างสรรค์ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ไทยแลนด์ 4.0”, pp. 685-694.