ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของวัดพรหมรังษี แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร Efficiency in Good Governance Management of Wat Phrom Rangsee, Samae Dam Subdistrict, Bang Khun Thian District, Bangkok

Main Article Content

พระบุญเม็ง เสง
ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของวัดพรหมรังษี แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของวัดพรหมรังษี แขวงแสมดำเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และ 3) เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของวัดพรหมรังษี แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานครประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนชาย-หญิงแขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานครจำนวน 120 คน เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{x}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐาน ด้วย Independent Sample t-test และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่มด้วย One-Way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของวัดพรหมรังษี แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.13, S.D = 0.74) คือ การบริหารจัดการตามหลักความรับผิดชอบ ( gif.latex?\bar{x}= 4.23, S.D = 0.82) การบริหารจัดการตามหลักความคุ้มค่า ( gif.latex?\bar{x}= 4.21, S.D = 0.66) การบริหารจัดการตามหลักนิติธรรม ( gif.latex?\bar{x}= 4.14, S.D = 0.64) การบริหารจัดการตามหลักการมีส่วนร่วม ( gif.latex?\bar{x}= 4.10, S.D = 0.72) การบริหารจัดการตามหลักคุณธรรม ( gif.latex?\bar{x}= 4.07, S.D = 0.87) การบริหารจัดการตามหลักความโปร่งใส ( gif.latex?\bar{x}= 4.01, S.D=0.72) 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของวัดพรหมรังษี แขวงแสมดำ
เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของวัดพรหมรังษี ได้แก่ การเปิด
อนิยภาสให้สนิกชนได้ถ้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการจัดให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

Article Details

How to Cite
เสง พ. ., & นพณัฐวงศกร ร. . (2022). ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของวัดพรหมรังษี แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร: Efficiency in Good Governance Management of Wat Phrom Rangsee, Samae Dam Subdistrict, Bang Khun Thian District, Bangkok. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(2), 248–262. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/254777
บท
บทความวิจัย

References

นครินทร์ แก้วโชติรุ่ง. (2556). รูปแบบและหลักการของการปกครองในพระไตรปิฏก. (ดุษฏีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสาธิตวีรญาณ อยู่สุข. (2559). ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการพันธกิจ. (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

พระมหาฤทธิชัย ญาณิทฺธิโก (นามสมบัติ). (2559). การบริหารจัดการวัดตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พระมหาศรณขัย มหาปุณฺโญ (2556). การพัฒนาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในยุคโลกาภิวัตน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชปัญญาภรณ์ (สิงห์คำ ชยวํโส). (2556). การคณะสงฆ์ภาค 6. กรุงเทพฯ: คณะสงฆ์ภาค 6.

พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ (ตรีกมล). (2555). การศึกษาวิเคราะห์ศีล 5 ในฐานะเป็นรากฐานของสันติภาพ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสราวุฒย์ปญฺญาวุฑฺโฒ (วิจิตรปัญญา). (2556). การปฏิรูประบบวรรณะสู่ระบบสังฆะในพระพุทธศาสนา. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิเชษฐ์ ชัยประไพพงษ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจและความจงรักภักดีต่อการใช้บริการรถยนต์เคลื่อนที่ให้บริการทางทะเบียนราษฎร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: ไอเดีย สแควร์.

สุพรรณี ปันผสม (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน : กรณีศึกษา พนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดพิจิตร. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.