การจัดการเกษตรวิถีพุทธในตำบลเขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม The Management of Buddhist Agriculture in Khwaorai Subdistrict Kosumphisai District Mahasarakham Province

Main Article Content

พระมหาประทักษ์ ภูริปญฺโญ (สีลากลาง)
พระครู สุธีคัมภีรญาณ
อดุลย์ หลานวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเกษตรวิถีพุทธ 2) เพื่อศึกษาการจัดการเกษตรวิถีพุทธในตำบลเขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การจัดการเกษตรวิถีพุทธในตำบลเขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกต แบบสนทนา วิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีวิจัย แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเกษตรวิถีพุทธได้พบกับปัญหาและสภาพทั่วไปของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น เพื่อให้พระสงฆ์เป็นตัวอย่างที่ดีต่อประชาชนและให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติและ
สภาพแวดล้อม จึงได้ประโยชน์ทั้งสองทาง คือประโยชน์ของพระสงฆ์ต่อสิ่งแวดล้อมและประโยชน์ที่มีต่อสังคม การจัดการเกษตรวิถีพุทธในตำบลเขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ในการทำการเกษตรมีการจัดการดิน การจัดการน้ำ การจัดการมลพิษ การจัดการป่าไม้ ปุ๋ยอินทรีย์ โดยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ มีหลักอิทธิบาท 4 หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หลักสัมมาชีพวิเคราะห์การจัดการเกษตรวิถีพุทธในตำบลเขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ได้ส่งผลกระทบใน 4 ด้านได้แก่ ด้านสังคม คือ ทำให้สังคมน่าอยู่กลับคืนมาสู่สังคมดั้งเดิมที่มีการอาศัยเกื้อกูลกัน รักสามัคคีกัน ด้านเศรษฐกิจ คือ เป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ด้านชุมชน คือชุมชนมีความปลอดภัยจากโจรขโมย ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในชุมชน คือลดมลพิษในชุมชน ลดสารเคมีทำให้สุขภาพชีวิตดีขึ้น

Article Details

How to Cite
(สีลากลาง) พ. ภ., สุธีคัมภีรญาณ พ., & หลานวงศ์ อ. . (2022). การจัดการเกษตรวิถีพุทธในตำบลเขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม: The Management of Buddhist Agriculture in Khwaorai Subdistrict Kosumphisai District Mahasarakham Province. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(2), 337–350. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/254749
บท
บทความวิจัย

References

ธนากร สังเขป. (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประธินพร แพทย์รังสี. (2544). การประเมินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ศึกษาเฉพาะกรณี เกษตรกรในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประสานศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระเทพรัตนมุนี (สายพงศ์ อโนมปญฺโญ/กองสินธุ์). (2557). การเกษตรแนวพุทธเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2535). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต). (2538) ธรรมะกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

ภัทรพร สิริกาญจน. (2538). หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ. แนวคิดและบทบาทของพระคำเขียน สุวณโณ ในการพัฒนาชุมชน. งานวิจัยเสนอต่อสถาบันไทยคดีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมพร เทพสิทธา. (2549). การเดินตามรอยพระยุคลบาทเศรษฐกิจพอเพียงช่วยแก้ปัญหาความยากจนและการทุจริต. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: กองทุนอริยมรรค สำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.