การพัฒนาการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กนอกระบบการศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ในพื้นที่ภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กนอกระบบการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ในพื้นที่ภาคเหนือมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19) และมีโอกาสเข้ารับการเรียนรู้ได้ตามศักยภาพและความต้องการ 2. เพื่อเพิ่มศักยภาพเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ และ
3. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกกลุ่มเป้าหมาย 6 องค์กร ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนนอกระบบ
การศึกษาในเขตพื้นที่ภาคเหนือ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ ครู เจ้าหน้าที่ 6 องค์กร ที่ทำงานในพื้นที่ ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า จากการดำเนินการได้ค้นพบการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา 3 วิธีการ 1. การจัดทำฐานข้อมูลรายชื่อและความต้องการช่วยเหลือกของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา 2. การจัดทำฐานข้อมูลรายชื่อแกนนำชุมชน ครู
ผู้ดูแลเด็ก และครูภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้านเพื่อร่วมกันการพัฒนาศักยภาพ และติดตาม สนับสนุนให้การช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย และ3. การหาแนวทางการช่วยเหลือ ติดตาม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการและเหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งทำให้เกิดรูปแบบการสนับสนุนและช่วยเหลือเด็กนอกระบบด้วยทักษะ 3 ด้าน อันได้แก่ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และทักษะการศึกษา และเกิดการตั้งศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนจำนวน 5 แห่ง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2563). สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย ปี 2563 และแนวโน้มปี 2564. (รายงานประจำปี). กรุงเทพฯ: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา.
ศุภชัย ไตรไทยธีระ และคณะ. (2564). Young Story “บทเรียนเด็กนอกระบบการศึกษา”. อุบลราชธานี: วีแคน เซอร์วิส เอ๊กซ์เพรส.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน 2560, หน้า 1-90.
Pierre Bourdieu. (1989). Distinction: A Social Critique of the Judgment of Taste. London: Routledge.