ผลของการใช้โครงการในการพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อนำเสนอข้อมูลของนักศึกษาปริญญาตรี

Main Article Content

บุษราคัม อินทสุก
ณฤติยา เพ็งศรี
พรชนนี ภูมิไชยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โครงการต่อความสามารถในการพูดเพื่อนำเสนอข้อมูลของนักศึกษาปริญญาตรี และเพื่อประเมินโครงการในการพัฒนาความสามารถในการพูดเพื่อนำเสนอข้อมูลของนักศึกษาปริญญาตรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ
คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 มีทั้งหมด 2 กลุ่มเรียน รวม 57 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง กำหนดคุณสมบัติของกลุ่มประชากรในการวิจัย คือ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3
ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาไทยศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงการ จำนวน 3 แผน แบบประเมินทักษะการพูดเพื่อนำเสนอข้อมูลและแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการใช้โครงการในการพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อนำเสนอข้อมูลของนักศึกษาปริญญาตรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความสามารถในการพูดนำเสนอภาษาอังกฤษสูงขึ้นหลังการสอนโดยใช้โครงการอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.5

Article Details

How to Cite
อินทสุก บ. ., เพ็งศรี ณ. ., & ภูมิไชยา พ. . (2022). ผลของการใช้โครงการในการพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อนำเสนอข้อมูลของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(1), 205–216. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/253229
บท
บทความวิจัย

References

กุลรภัส เทียมทิพร. (2559). PBL: Project Base Learning การเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริงโดยใช้โครงงาน

เป็นฐาน. วารสารการจัดการความรู้ พ.ศ. 2559. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ธัญทิพย์ บุญเยี่ยม. (2562). ปัญหาการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในที่ชุมชนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์.

ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน และเฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2562). การสังเคราะห์การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงาน

เป็นฐาน : บูรณาการความรู้จิตวิทยาชุมชนสู่การบริการสังคมสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ใน

ศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 45(1), 229-268.

นิธิดา อดิภัทรนันท์ และธนัญญา กุลจลา. (2561). การใช้การเรียนแบบโครงงานเป็นฐานเพื่อเพิ่มพูน ทักษะการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(3), 1544-1556.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ภูวสิษฏ์ บุญศรี. (2562). การพัฒนากระบวนการการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐา เพื่อส่งเสริมการ คิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหาของโรงเรียนบ้านโป่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Blumenfeld, P., Soloway, E., Marx, R., Krajcik, J., Guzdial, M., & Palincsar, A. (1991). Motivating

project-based learning: Sustaining the doing, supporting the learning. Educational

Psychologist, 26(34), 369-398.

Crystal, D. (2003). English as a Global Language. (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.

Fried-Booth, D. (2002). Project work. Great Britain: Oxford University Press.

Mohammed Abdullatif Almulla. (2020). The Effectiveness of the Project-Based Learning

(PBL) Approach as a Way to Engage Students in Learning. SAGE Open, 10(3), 1-15.

Phaengpunga, T. et al. (2017). Developing Higher Order Thinking Skills Shadowing NSBC

Framework. Veridian E-Journal International Humanities, Social Sciences and Arts,

(10)4. 116-133.

Shen, M. and Chu, T. (2019). EFL Learners’ English Speaking Difficulties and Strategy Use.

Education and Linguistic Research, 5(2), 88-102.

Stoller, F. (2002). Project Work: A means to promote language and content in Methodology

in Language Teaching: An anthology of current practice. Richards, J. C. and Renandya,

W. A. (Ed) : 107-119. Cambridge: Cambridge University Press.