ผลกระทบจากโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของกรมควบคุมโรค ต่อการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและการยอมรับจากการดำเนินโครงการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของกรมควบคุมโรคระหว่างปี 2552-2554 ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และประชาชนทั่วไป จำนวน 80 คน ด้วยการสนทนากลุ่มและบันทึกผลการดำเนินงาน ตามตัวแปรด้านการเปลี่ยนแปลงระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน ระดับองค์กรหรือสถาบัน และความยั่งยืนของกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อนำไปสู่การเสนอแนวคิดการพัฒนาระบบสุขภาพที่ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมแบบยั่งยืน
ผลการวิจัยพบว่า ประชาชน ผู้นำชุมชน อสม. บุคลากรสาธารณสุขในระดับพื้นที่สามารถพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนได้ อสม.และประชาชนผลักดันตนเองให้เป็นผู้นำชุมชน เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ด้านสุขภาพชุมชนสามารถวิเคราะห์ปัญหาสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาของชุมชนตนเอง นำไปสู่ชุมชนต้นแบบในการพัฒนาและขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น ๆ ทำให้เกิดการยอมรับของหน่วยงานภายนอกเข้ามาศึกษาดูงาน และได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรถ่ายทอดวิธีการพัฒนา
Article Details
References
เกษม วัฒนชัย. (2549). การเรียนรู้ที่แท้และพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.
เดวิด แมททิวส์ (แปลโดย ฐิรวุฒิ เสนาคำ). (2540). จากปัจเจกสู่สาธารณะ กระบวนการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
เพ็ญประภา ภัทรานุกรม. (2560). วิจัยเพื่อท้องถิ่น : บทบาทมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(3), 137-156.
จุฑารัตน ผาสุข และธนวรรธน อิ่มสมบูรณ. (2555). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรค ตำบลหาดอาษา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วารสารควบคุมโรค, 38(3), 256-262.
จุฬา ทองประไพ. (2562). แนวทางการขับเคลื่อนการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สู่การบริหารจัดการกองทุน หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อสร้างนวัตกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชน. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ: กรุงเทพมหานคร.
ทิบดี ทัฬหกรณ์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 11(2), 46-76.
ประเวศ วะสี. (2546). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบพุทธ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ และคณะ. (2554). การศึกษาผลของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลต่อการเสริมพลังอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข: นนทบุรี.
สำราญ สาราบรรณ์ และคณะ. (2555). โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังปี 2554. รายงานการวิจัย. กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมกำรเกษตร 2555: กรุงเทพมหานคร.
สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร. (2546). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : แนวคิดและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: วนิดา เพรส.
สิริลักษณ์ แย้มประสาทพร. (2548). กระบวนทัศน์ใหม่กับการเรียนรู้ของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: พิสิษฐ์ ไทยออฟเซต.
สุจิตรา อังคศรีทองกุล และวราภรณ์ อึ้งพานิชย์. (2553). การพัฒนางานเสริมสร้างสุขภาพป้องกันควบคุมโรคโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ กรณีศึกษา : ตำบลหาดอาษา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วารสารควบคุมโรค, 36(1), 1-9.
อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ และ พิมพิมล วงศ์ไชยา. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : ลักษณะสำคัญและการประยุกต์ใช้ในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(6), 192-202.
Aneksuk, A. (2017).Participatory Action Research. Retrieved 23 June 2021, from: https://www.gotoknow.org/posts/378030