การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการสร้างสังคมแห่งความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทย

Main Article Content

พระราช สิทธิเวที
พระมหาเมธี จนฺทวํโส (ไวยุวัฒน์)
พระสมุห์ฉลวย เทวสโร (บุญม่วง)
ศราวุธ ปลอดภัย
ชัยภัทร ปทุมทา
วิชิต ไชยชนะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม 2) สร้างจิตสำนึกของประชาชน และ 3) การบูรณาการการมีส่วนร่วมและการสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการสร้างสังคมแห่งความปรองดองสมานฉันท์ของสังคมไทยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก
กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญเลือกแบบเจาะจงจำนวน 45 รูป/คน โดยการจัดเวทีสานเสวนาผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
จำนวน 21 คน
ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมตามหลักบวรเพื่อสร้างสังคมแห่งความปรองดองสมานฉันท์
ในสังคมไทยนั้นต้องอาศัยแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักธรรมที่ทำให้มีความสามัคคีในหมู่คณะ
หากทุกคนได้นำไปปฏิบัติแล้ว ก็จะนำความสุข ความสงบ ความสามัคคีก็จะเกิดกับครอบครัว หมู่คณะ ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ทั้งนี้การมีส่วนร่วมมีการจัดกิจกรรมตามหลักบวร ดังนี้ 1) กิจกรรม
ด้านการศึกษา 2) กิจกรรมด้านศาสนา 3) กิจกรรมด้านการเมือง 4) กิจกรรมด้านกระบวนการยุติธรรม การสร้างจิตสำนึกของประชาชนตามหลักบวร อาศัยบุคคล ระบบกลไก และการสื่อสาร เป็นพลังขับเคลื่อนจากจุดเริ่มต้นไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) การสร้าง การรับรู้ การสร้างการรับรู้ในประเด็นที่ต้องการสร้างจิตสานึก 2) การชี้ให้เห็นคุณค่า ความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องตระหนัก 3) การกระตุ้นให้เกิดการคิด 4) การโน้มน้าวให้เกิดการยอมรับ 5) การชักนำให้นำไปปฏิบัติ 6) การเชิญชวนให้นำไปเผยแพร่ 7) การตอกย้ำให้มีความต่อเนื่องในความคิดและการปฏิบัติ 8) การเสริมสร้างให้จิตสานึกมั่นคงแข็งแรง และการบูรณาการการมีส่วนร่วมและการสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการสร้างสังคมแห่งความปรองดองสมานฉันท์ของสังคมไทย นำเสนอแนวทาง ดังนี้ 1) สร้างความมั่งคั่ง 2) กระจายอำนาจสู่ชุมชน 3) สนับสนุนอนุรักษ์ส่งเสริมขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม 4) เรียนรู้ความสงบและสันติสุขจากภายใน 5) เสริมสร้างความสามัคคีและความเป็นเอกภาพของชุมชน

Article Details

How to Cite
สิทธิเวที พ., จนฺทวํโส (ไวยุวัฒน์) พ. . ., เทวสโร (บุญม่วง) พ. ., ปลอดภัย ศ. ., ปทุมทา ช. ., & ไชยชนะ ว. . (2021). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการสร้างสังคมแห่งความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(2), 300–312. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/248610
บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล, “สันติภาพภายใต้เงื่อนไขของความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง”, ใน มนุษย์กับสันติภาพ, (ศรีเพ็ญ ศุภพิทยากุล บรรณาธิการ), (กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543), หน้า 41.
วิกิพีเดีย, “การปรองดอง”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://th.wikipefia.org/wiki [3 กันยายน 2563].
รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ครบรอบ 1 ปี (12 กันยายน 2557 -12 กันยายน 2558)
แนะนำแนะนำชุมชนคุณธรรมต้นแบบจากพลัง บวร (บ้าน-วัด-โรงเรียน) การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทย กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
แนะนำชุมชนคุณธรรมต้นแบบจากพลัง บวร (บ้าน-วัด-โรงเรียน) การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทย กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
จีนา และ รมิตา จีนา. (2560). บวรสันติสุข : รูปแบบการมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน ในการส่งเสริมคุณธรรมค่านิยม 12 ประการ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(sp1), 47-60.
ทรงศรี ตุ่นทอง และคณะ. (2560). รูปแบบการพัฒนาจิตสานึกสาธารณะสาหรับเยาวชนจังหวัดลพบุรีโดยใช้การปรับพฤติกรรมทางปัญญา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 65-74.
พระมหากฤษฎา กิตติโสภโณ. (2558). การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ด้วยการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 55-62.
วุฒิสาร ตันไชย.(2563). การสร้างความปรองดองแห่งชาติ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า.10(1), 1-21.
ภาสกร ดอกจันทร์ และรพีพร ธงทอง.(2563). การสร้างความปรองดองของประชาชนในจังหวัดเลย ตามหลักธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 3(1), 87-96