แนวทางการเสริมสร้างพลังชุมชนในการบริหารจัดการ กองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าน้ำพอง และแนวทางการเสริมสร้างพลังชุมชน ในการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ในพื้นที่รัศมี 3 กิโลเมตร รอบโรงไฟฟ้า โดยการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมด้วยวิธีการรวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสาร สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการจัดทำกระบวนการเสริมพลังชุมชนและสร้างการมีส่วนร่วมในกลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าน้ำพอง แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก เกิดจากการจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้าที่ไม่มีข้อกฎหมายรองรับ และการตั้งคณะกรรมการกองทุนพัฒนาไฟฟ้าขาดการมีส่วนรวมของภาคประชาชน และระยะปลาย
เกิดจากปัญหาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบโรงไฟฟ้าขาดการมีส่วนร่วมและขาดระบบข้อมูล ปัญหาจากการบริหารจัดการกองทุน และปัญหาจากการดำเนินงานกองทุน แนวทางการเสริมสร้างพลังชุมชนเพื่อบริหารจัดการกองทุน ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ 1) ภายในองค์กร ประกอบด้วย 1.1) การปรับรูปแบบการบริหารงานความรับผิดชอบต่อสังคมด้านกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ด้วยการใช้กระบวนการสร้างการมีส่วน
การสนับสนุนการให้ความรู้และกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายได้ลงมือทำเอง และการการทำงานที่คำนึงถึงความยั่งยืน โดยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ตลอดจนมีแผนการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง 1.2) ส่งเสริมการบริหารจัดการกองทุนไฟฟ้าให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
2) ภายในตัวบุคคลและชุมชน ประกอบด้วย การเสริมสร้างพลังชุมชนระดับบุคคลด้วยการเพิ่มทักษะการเป็นผู้นำและการสร้างสำนึกร่วมต่อส่วนรวม และระดับชุมชนด้วยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน และการกำหนดกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ และ
3) แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนในทุกขั้นตอน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมชุมชนอย่างยั่งยืน
Article Details
References
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2553). รายงานประจำปี 2553. นนทบุรี: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.
กิ่งแก้ว สุวรรณคีรี, นพพร จันทรนำชู และนรินทร์ สังข์รักษา. (2559). รูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจชุมชน เพื่อการจัดทำแผนชุมชน. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(2), 1787-1801.
ณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล. (2554). แนวทางเพื่อพัฒนาการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
พิณวลี อังศุพันธุ์. (2551). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ. (2549). การพัฒนาซีเอสอาร์ในกระบวนการธุรกิจ. ประชาคมวิจัย, 11(66), 16-19.
ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยกองทุนพัฒนาไฟฟ้า พ.ศ. 2553. (2553, 20 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนพิเศษ 146 ง. หน้า 1-7.
วรวุฒิ ไชยศร และบุญสม เกษะประดิษฐ์. (2560). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจกับการพัฒนาที่ ยั่งยืน: กรณีศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคม 6 บริษัท. Panyapiwat Journal, 9(3), 140-152.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2554). การใช้ไฟฟ้าและการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน.
สุธน จิตร์มั่น และพิสมัย จารุจิตติพันธ์. (2561). แนวทางการบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อพัฒนาชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(3), 1130-1142.