ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต่อการควบคุมความดันโลหิตสูงในจังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เปรียบเทียบศักยภาพการดูแลตนเองและระดับของความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม และเปรียบเทียบศักยภาพการดูแลตนเองและระดับของความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังเข้าร่วมโปรแกรม
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อย 1 ปี ที่อาศัยใน เขตเทศบาลเมืองแพร่ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ตั้งแต่ปี 2562 โดยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 44 คน เป็นกลุ่มทดลอง 22 คน กลุ่มควบคุม 22 คน โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองในผู้สูงอายุต่อการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีความตรงเชิงเนื้อหา 1 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที
(t-test Independent และ t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)
2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง สูงกว่า ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (p < .05)
3. ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยระดับความดันโลหิต ดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)
4. คะแนนเฉลี่ยระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ดีกว่า ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (p < .05)
โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ทำให้ผู้งอายุเกิดความรอบรู้ เข้าใจ และนำไปใช้เป็นสู่การปรับรูปแบบ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติกิจกรรมที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สามารถควบคุมความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตได้
Article Details
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ (2562). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2563,
จาก http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275.
กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ (2560). รายงานประจำปี 2560 สำนักโรคไม่ติดต่อ. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนาน 2563,
จาก http://www.thaincd.com/2016/mediadetail.php?id=12986&tid=30&gid
กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ, สมใจ นกดี และอาภรณ์ สิงห์ชาดา. (2559). ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่อความเครียดของ
ผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยหัวเฉียววิชาการ, 19(38), 49-54.
จิระภา ขำพิสุทธิ์. (2561). ความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการวัดผล
การศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(1), 67-78.
นิตยาทิพย์ แสนแดง และชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข. (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
อำเภอเขมราฐจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(3), 33-41.
นัยต์ชนก ถิ่นจะนะ. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายที่บ้านโดยใช้ยางยืดต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ.
ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน: มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์.
ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ และคณะ. (2559). การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในชุมชนหนองพลับ
จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 32(2), 115-118.
ไพโรจน์ มะกล่ำดำ. (2558). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วย โรคความดันโลหิตสูง.
วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(1), 20-39.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณผูสูงอายุไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: โรงพิมพ์เอพลัสมีเดีย.
วิภาภรณ์ วังวรตระกูล. (2560). ปัจจัยทำนายการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ.
วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 131-139.
วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล.วารสารแพทย์นาวี, 44(3),
-197.
แสงเดือน กิ่งแก้ว และนุสรา ประเสริฐศรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ
ที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 43-54.
Monica K. L. and Vladimir V. M.. (2016). Hypertension and physical exercise : The role of oxidative stress.
Madicina, 52(1), 19-27.
Seyedeh A. M., Jamileh A. I., Fatemeh and Loke S. C. (2018). Effi cacy of Elastic Resistance Training Program
for the Institutionalized Elderly. Topics in Geriatric Rehabilitation, 34(2), 105-111.
Solomon W. A., Tesfay M. A. and Tigestu A. D.(2018). Antihypertensive medication adherence and associated
factors among adult hypertensive patients at Jimma University Specialized Hospital, southwest Ethiopia.
BioMed Central Research Notes, 11(27), 1-8.