การพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธจริยศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนามนุษย์ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ในการพัฒนามนุษย์ตาม 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธจริยศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาตามหลัดอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการพัฒนามนุษย์ คือ การดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ สังคมให้ความสำคัญกับมนุษย์ด้านร่างกายมากเกินไป โดยปล่อยปละละเลยการพัฒนามนุษย์ด้านจิตใจ จึงทำให้เกิดปัญหาสังคมมากมาย ในเมื่อมนุษย์ประกอบไปด้วยกายกับจิต การพัฒนามนุษย์ต้องพัฒนาทั้งกายกับจิตไปพร้อมกันจึงจะเกิดความสมดุล
หลักพุทธจริยศาสตร์ในการพัฒนามนุษย์ หมายถึง คำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ใช้ในการพัฒนามนุษย์ทั้งทางด้านกายและจิตใจ เพื่อให้เกิดความสมดุล ได้แก่ หลักภาวนา 4 ซึ่งประกอบไปด้วย กายภาวนา คือ การพัฒนากาย สีลภาวนา คือ การพัฒนาศีล จิตภาวนา คือ การพัฒนาจิต และปัญญาภาวนา
คือ การพัฒนาปัญญา
การพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธจริยศาสตร์ หมายถึงการนำเอาหลักภาวนา 4 มาใช้ในการพัฒนามนุษย์ 4 ด้าน ได้แก่ 1) กายภาวนา คือการสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพด้วยการตั้งมั่น พากเพียร ใช้สติ สมาธิ และปัญญา 2) สีลภาวนา คือการพัฒนาความประพฤติให้เกิดระเบียบวินัย
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น 3) จิตภาวนา คือ การพัฒนาจิตให้เข้มแข็ง มีคุณภาพ และมีศักยภาพ 4) ปัญญาภาวนา คือ การเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้ทันโลกและชีวิตตามสภาวการณ์ ทำตนให้รอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา
Article Details
References
เจริญ ช่วงชิต. (2557). การศึกษาสมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณอภัย พวงมะลิ. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติ ปัฏฐาน 4 ของศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานวัดถ้ำพระผาคอก อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. ใน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ธนา มณีพฤกษ์. (2561). ความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติ กรณีศึกษานโยบายการสร้างงานในเมืองโอ๊คแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. วันที่ 20 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561.
พระครูวิจิตรปทุมรัตน์ (ปญฺญาทีโป), (2558). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 2(1), 90-95.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุงยุทธ แสนประสิทธิ์. (2554). รูปแบบการป้องกันความรุนแรงในครอบครัวโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในปทุมธานี. ใน วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์.
สุขพัชรมณี กันแต่ง. (2561). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับความรุนแรงทางด้านร่างกายของสตรีในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ, 7(1), 67-68 .