ปัจจัยการบริหารที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12

Main Article Content

ชินา ฮอดจ์สัน
มะลิวัลย์ โยธารักษ์
วันฉัตร ทิพย์มาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ เชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 จำนวน36 โรงเรียน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า1) ระดับปัจจัยการบริหารที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 โดยภาพรวม 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษาสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านครูผู้สอน ด้านนักเรียน และด้านครอบครัว ตามลำดับ 2) ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 4 ด้านร่วมกันพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ได้เพียงร้อยละ 1.10 ปัจจัยทั้ง 4 ไม่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12, 3) แนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษด้านผู้บริหารควรมีความเป็นผู้นำทางวิชาการโดยการประกาศเป้าหมายทางวิชาการที่ชัดเจนและสร้างเจตคติที่ดีต่อคณะทำงาน การทำงานในเชิงลึกถึงระดับตัวชี้วัดของรายวิชา ด้านครูผู้สอน ควรมีกระบวนการสอนที่หลากหลาย การวัดประเมินผลอย่างเหมาะสม และสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนที่มีศักยภาพแตกต่างกัน
ด้านนักเรียนควรได้รับการสร้างเจตคติที่ดี และด้านครอบครัว ควรให้คำแนะนำ อบรมเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดและอย่างถูกต้อง


คำสำคัญ: ปัจจัยการบริหาร, ผลสัมฤทธิ์ภาษาอังกฤษ, โรงเรียนขนาดเล็ก

Article Details

How to Cite
ฮอดจ์สัน ช., โยธารักษ์ ม. ., & ทิพย์มาศ ว. . (2021). ปัจจัยการบริหารที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(2), 165–177. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/247097
บท
บทความวิจัย

References

จริยาภรณ์ พรหมมิ. (2559). ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชนิดา ยอดสาลี. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

บุศรา เต็มลักษมี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ผกามาศ คงเกื้อ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. (2561). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2562, จาก http://www.infosea12.info/infoonline/images/stories/ studentData/information61.pdf.

สุพิชญ์กฤตา พักโพธิ์เย็น. (2560). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Christiana Ogbogu.(2014).Institutional Factors Affecting the Academic Performance of Public Administration Students in a Nigerian University. Public Administration Research, 3(2), 171.

EF English Proficiency Index. (2019). The world's largest ranking of countries and regions by English skills. From https://www.ef.com/ca/epi/#%208/8/2562

Gerald N. Kimani. (2013). Teacher Factors Influencing Students’ Academic Achievement in Secondary Schools in Nyandarua County, Kenya. International Journal of Education and Research, 1(3), 1.

Mansour Garkaz. (2011). Factors Affecting Accounting Students’ Performance: The Case Of Students At The Islamic Azad University. Procedia-Social and Behavioral Sciences, (29), 122.