เทียนพรรษา : ศิลปะทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

Main Article Content

สุรพันธ์ สุวรรณศรี
จรัส ลีกา
เอี่ยม อามาตย์มุลตรี
สุริยา นทีศิริกุล

บทคัดย่อ

เทียนพรรษา เป็นงานศิลปะที่เกิดจากภูมิปัญญาของท้องถิ่น โดยได้รับแรงบันดาลใจ
และความเชื่อศรัทธาจากประเพณีเข้าพรรษา เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่าง ๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน เทียนพรรษาปรากฏสุนทรียธาตุทั้ง 3 ประการ คือ ความงดงาม แปลกตาและความน่าทึ่ง จัดเป็นงานศิลปะทั้งส่วนของวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์
โดยสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อแสดงความงดงามและตอบสนองการใช้สอยรวมทั้งตอบสนองทางด้านอารมณ์และจิตใจ นอกจากจะมีความงามแล้วทำเป็นที่รวมความคิด วิถีชีวิตของชุมชน กลายเป็นวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า เป็นผลผลิตทางปัญญาของผู้คนในชุมชนและท้องถิ่นอีกด้วย แนวทางการบริหารจัดการและส่งเสริมแนวทางในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาศิลปะการทำเทียนพรรษา มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเสริมสร้างปราชญ์ชาวบ้านให้เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ด้านการสืบสานสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการทำเทียนพรรษาไปสู่คนรุ่นต่อไป 3) ด้านการปลุกจิตสำนึกของคนในชุมชนให้ตระหนักถึงเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ด้านการส่งเสริมกิจกรรมร่วมกันเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อก่อให้เกิดอาชีพ และรายได้แก่คนชุมชน และ 5) การจัดการความรู้ นำเทคโนโลยีมาจัดเก็บข้อมูลและการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการทำเทียนพรรษา
ดำรงอยู่


 

Article Details

How to Cite
สุวรรณศรี ส. . ., ลีกา จ. ., อามาตย์มุลตรี เ. ., & นทีศิริกุล ส. . (2021). เทียนพรรษา : ศิลปะทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(1), 37–48. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/246907
บท
บทความวิชาการ

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2549). วิทยาศาสตร์สื่อและวัฒนธรรมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:

เอดิสันเพรส โปรดักส์.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2537). วัฒนธรรมไทยกับขบวนการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ชวน เพชรแก้ว. (2547). การเสริมสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ในท้องถิ่นในสถานการณ์ปัจจุบัน.

วารสารไทย, 2(3), 14-23.

พระครูสุทธิสารคุณ และคณะ. (2544). มรดกไทยอีสาน. ขอนแก่น: ขอนแก่นกลางนานาธรรม.

พระมหาณัฐพันธ์ สุทสฺสนวิภาณี (หาญพงษ์). (2558). การวิเคราะห์ความงามของศิลปะที่ปรากฏ

บนผ้าไหม 12 ราศี จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาปรัชญา.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

______. (2561). การวิเคราะห์ความงามของผ้าไหมนครชัยบุรินทร์ตามทฤษฎีอัตวิสัย. ปรัชญาดุษฎี

บัณฑิตคณะปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2532). ศิลปหัตถกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ศักดิ์ชัย เกียรตินครินทร์. (2542). ภูมิปัญญาชุมชนแพทย์วิเศษในการพัฒนา. วารสารวัฒนธรรมไทย,

(9), 2-4.

สำลี รักสุทธี. (2533). ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ประเพณีอีสาน. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

สัญญา ปัญญาวิวัฒน์. (2536). ทฤษฎีทางสังคมวิทยา: เนื้อหาและการใช้ประโยชน์ขั้นพื้นฐาน.

(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉรี จันทมูล. (2559). ภูมิปัญญาในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ผู้ไท. วารสารมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ฉบับพิเศษ, 284-289.