วิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ปีการศึกษา 2557 – 2562

Main Article Content

ฤดี แสงเดือนฉาย

บทคัดย่อ

                งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และค้นหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2557 - 2562 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จากผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ปีการศึกษา 2557 – 2562 ผลการวิเคราะห์ พบว่า


                 1. ระดับหลักสูตร ทั้ง 6 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ พบว่า (1.1) ปีการศึกษา 2557 มีหลักสูตรที่รับการตรวจประเมิน 10 หลักสูตร คะแนนเฉลี่ยจากทุกหลักสูตรเท่ากับ 0.52 การดำเนินงานระดับ น้อย คะแนนอยู่ระหว่าง 1.37 - 1.99 คะแนน (1.2) ปีการศึกษา 2558 มีหลักสูตรที่รับการตรวจประเมิน 12 หลักสูตร ภาพรวมคะแนนเฉลี่ยจากทุกหลักสูตรเท่ากับ 2.96 การดำเนินงานระดับ พอใช้ คะแนนอยู่ระหว่าง 2.22 - 3.52 คะแนน (1.3) ปีการศึกษา 2559 มีหลักสูตรที่รับการตรวจประเมิน 12 หลักสูตร ภาพรวมคะแนนเฉลี่ยจากทุกหลักสูตรเท่ากับ 2.82 การดำเนินงานระดับ พอใช้ คะแนนอยู่ระหว่าง 2.06 - 3.32 คะแนน (1.4) ปีการศึกษา 2560 มีหลักสูตรที่รับการตรวจประเมิน 13 หลักสูตร ภาพรวมคะแนนเฉลี่ยจากทุกหลักสูตรเท่ากับ 3.40 การดำเนินงานระดับ ดี คะแนนอยู่ระหว่าง 2.12 - 3.84 คะแนน (1.5) ปีการศึกษา 2561 มีหลักสูตรที่รับการตรวจประเมิน 14 หลักสูตร ภาพรวมคะแนนเฉลี่ยจากทุกหลักสูตรเท่ากับ 3.78 การดำเนินงานระดับ ดี คะแนนอยู่ระหว่าง 2.15 – 4.10 คะแนน (1.6) ปีการศึกษา 2562     มีหลักสูตรที่รับการตรวจประเมิน 16 หลักสูตร ภาพรวมคะแนนเฉลี่ยจากทุกหลักสูตรเท่ากับ 2.92 การดำเนินงานระดับ พอใช้ คะแนนอยู่ระหว่าง 2.27 – 3.50 คะแนน


                 2.ระดับวิทยาเขตขอนแก่น ทั้ง 5 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ ระหว่างปีการศึกษา 2557 – 2562 ในภาพรวมอยู่ในระดับ ดี (= 4.25) เมื่อพิจารณาทั้ง 5 ด้าน พบว่า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการประกันคุณภาพ อยู่ในระดับ ดีมาก จำนวน   3 ด้าน เรียงตามลำดับ ดังนี้  1. ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ( x = 4.83)   2. ด้านการบริหารจัดการ (= 4.75)  3. ด้านการบริการวิชาการ (= 4.67) ส่วนด้านการวิจัยและด้านการผลิตบัณฑิต พบว่าประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการประกันคุณภาพ อยู่ในระดับดี ด้านการวิจัย (= 4.50) ด้านการผลิตบัณฑิต (= 3.74)


                3.แนวทางการพัฒนาคุณภาพจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2557 – 2562 วิทยาเขตขอนแก่น ควรพิจารณาทบทวนการจัดทำแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map) ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และแผนยุทธศาสตร์ให้เป็นกลไกเดียวกัน เพื่อให้ทุกหลักสูตรได้นำไปพัฒนาระบบคุณภาพอื่นที่มีความท้าทายและสามารถสะท้อนคุณภาพผลการดำเนินงานและการขับเคลื่อนการพัฒนาหน่วยงานจัดการเรียนการสอนและมหาวิทยาลัยให้พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ (Edpex) ซึ่งควรสร้างทีมงานที่สามารถพัฒนางานวิจัยและการประกันคุณภาพที่บูรณาการและเอื้ออำนวยต่อระบบการพัฒนาคุณภาพงานด้านต่างๆ ได้ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ครอบคลุมทุกพันธกิจแก่บุคลกร ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
แสงเดือนฉาย ฤ. . (2020). วิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ปีการศึกษา 2557 – 2562. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(4), 283–298. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/244825
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญดาว แจ่มแจ้ง และคณะ. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 86.

ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. (2557). การพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เพชราวลัย ถิระวณัฐพงศ์ และคณะ. (2558). การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 8(1), 33 - 40.

เพลินพิศ จุฬพันธ์ทอง. (2557). การพัฒนากลยุทธ์การบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง, วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 42.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2550). อาจารย์มืออาชีพแนวคิด เครื่องมือและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มัลลิกา วีระสัย และคณะ. (2557). สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สถาบันคลังสมองของชาติ. (2559). ประมวลผลหลักสูตรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันคลังสมองของชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาฉบับปีการศึกษา 2557. กรุงเทพมหานคร : สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สุทธศรี วงษ์สมาน. (2545). รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกํากับในการบริหารการศึกษาระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรัสวดี อินทร์ชัย. (2551). การศึกษารูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนสำหรับมหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพกับมหาวิทยาลัยนอร์ท - เชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนันต์ เจ๊ะมามุ. (2556). แนวโน้มการบริการวิชาการแก่ชุมชนของวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2555 - 2564). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

______. (2558). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2558 - 2562. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.