กลยุทธ์การตลาดเชิงพันธมิตรเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

ชุติมันต์ สะสอง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อศึกษาสภาพการพึ่งพาตนเองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพึ่งพาตนเองของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 2) เพื่อวิเคราะห์แบบจำลองอิทธิพลเชิงสาเหตุที่มีต่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 500 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม AMOS และวิเคราะห์เนื้อหาจากปรากฏการณ์จริง ผนวกเข้ากับปัจจัยองค์ประกอบ


ผลการวิจัย พบว่า


  1. สภาพการพึ่งพาตนเองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพึ่งพาตนเองของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ส่วนใหญ่สามารถดำเนินการด้วยตนเองอย่างอิสระมั่นคงสมบูรณ์ทางด้านจิตใจ ด้านแบบแผนการผลิต ด้านความสมดุลของธรรมชาติแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพึ่งพาตนเองประกอบด้วย ปัจจัยทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยทุนทางสังคมและทุนทางเศรษฐกิจ ปัจจัยภูมิปัญญาและองค์ความรู้ ปัจจัยระบบการจัดการ ปัจจัยการสนับสนุนจากภายนอกองค์กร และเงื่อนไขปัจจัยที่เอื้อต่อการพึ่งพาตนเอง

  2. ผลการวิเคราะห์หาค่าองค์ประกอบผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน และกลยุทธ์ตลาดเชิงพันธมิตร พบว่า องค์ประกอบกลยุทธ์การตลาดเชิงพันธมิตรส่งผลต่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนที่ระดับ .42 มากที่สุด รองลงมาองค์ประกอบผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนส่งผลต่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนที่ระดับ .24 ตามลำดับ

  3. ผลการนำเสนอแบบจำลองกลยุทธ์การตลาดเชิงพันธมิตรเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่า โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ Chi-square = 23.579, Chi-square/df = 1.474, df = 16, p = .099, GFI = .992, CFI = .998, RMR = .010, RMSEA = .031, NFI = .994

Article Details

How to Cite
สะสอง ช. (2019). กลยุทธ์การตลาดเชิงพันธมิตรเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 251–268. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/229142
บท
บทความวิจัย

References

Aunpong, T. (2007). An Analysis of the Potential of Textile Product Group under One Tambon One Product Project. In Chiang Mai. M.A. Independent Study (Economics). Chiang Mai University.
Babbie, E. (1973). Survey Research Methods. Belmont, California : Wadsworth Publishing Company.
Chadcham, S. (2008). Confirmatory element analysis. Journal of Educational Research and Measurement. 2(2): 15-42.
Chiwatakoonkid, B. (2014). Strategic Management for CEO. (11th ed.). Bangkok: P. Press.
Comrey, A.L. & Lee, H.B. (1992). A First Course in Factor Analysis. (2nd ed). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Dwyera, M. O. ,Gilmore, A. , & Carson, D. (2011). Strategic alliances as an element of innovative marketing in SMEs. Journal of Strategic Marketing. 19(1), 91–104.
Hair, J. F. , Black, W. C. , Babin, B. , Anderson, R. E. , & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed.). Upper Saddle River, New Jersey : Prentice-Hall.
Kansawai. F. , Plujauen, N. , & Jamraman, V. (2012). The characteristics of entrepreneur successfully in hotel business sector in the lower northern region in Thailand. MIS Journal of Naresuan University, 7(1). 39-50.
Noknoi, C. , Boripunt, W. , & Lungtae, S. (2012). Key success factors for obtaining a one tambon one product food five-star rating in Phatthalung and Songkhla provinces. European Journal of Economics Finance and Administrative Sciences. 48 (May), 96-103. [in Thai]
Poosiri, P. ( 2007) . Self – Reliance of Community Enterprise: A Case Study of a ThapLan Women, s Weaving Group in PrachainBuri Province. Kasetsart Journal (Social Science), 28, 357-366.
Rovinelli, R. J. , & Hambleton, R. K. (1977). “On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity”. Dutch Journal of Educational Research, 2: 49-60.
Sanyawiwat, S. (2001). Self-reliance in moral economy, where series edition. Bangkok: Chulalongkorn University.
Sijanya, S. (2014). Creative Age Marketing 4.0. (2nd ed.). Pratoomtanee: DMS, Inc.
Tabachnick, B.G., & Fidell, L.S. (2007). Using Multivariate Statistics, Fifth Edition. Boston: Pearson Education, Inc.
Veerarangsan, A. , & Rujithamrongkul, K. (2018). A Development of the Causal Model of the Online Payment Service System Business. ACADEMIC JOURNAL BANGKOKTHONBURI UNIVERSITY, 7(2) : 37-53.