ความสัมพันธ์ระหว่างการบังคับใช้กฎหมายจราจรที่มีต่อภาพลักษณ์ของตำรวจจราจร สถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเล กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบังคับใช้กฎหมายจราจร สถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเล 2) ศึกษาระดับภาพลักษณ์ของตำรวจจราจร สถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบังคับใช้กฎหมายจราจรกับภาพลักษณ์ของตำรวจจราจร สถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเล โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ประชาชนที่เป็นผู้ใช้รถใช้ถนน ซึ่งถูกจับกุมและดำเนินคดีในพื้นที่ความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเล จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบังคับใช้กฎหมายจราจร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับภาพลักษณ์ของตำรวจจราจร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างการบังคับใช้กฎหมายจราจรกับภาพลักษณ์ของตำรวจจราจร สถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเล พบว่า มีความสัมพันธ์ในทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (.517) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการบังคับใช้กฎหมายจราจรโดยรวมทั้ง 4 ด้าน สามารถพยากรณ์ภาพลักษณ์ของตำรวจจราจร สถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีข้อเสนอแนะ คือสถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเล ควรมีการกำหนดเป็นนโยบายหรือแนวทางในการตรวจสอบการกระทำผิดกฎหมายจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนก่อนดำเนินการเปรียบเทียบปรับหรือดำเนินคดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการขนส่งทางบก. (2564). รายงานสถิติการขนส่งประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กลุ่มสถิติการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก.
โกสินทร์ มั่นพรม. (2550). การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสถานีตำรวจภูธร อำเภอพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
จีรุฎฐ์ พิมพา. (2554). ความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครพนมต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
นิยม อนุสนธิ์. (2554). แนวทางการแก้ไขการกระทำผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่ยานพาหนะ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกําแพงเพชร. วารสารการวิจัย กาสะลองคํา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 5(1), 15-24.
บัณฑิต จิตต์ภาคภูมิ. (2555). ภาพลักษณ์ของตำรวจจราจรเชียงใหม่ในความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรากร บรรณสิทธิ์. (2552). ภาพลักษณ์ของข้าราชการตำรวจสังกัดสถานีตำรวจภูธรในเขตอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศรานนท์ หอมทรัพย์. (2554). ทัศนะของประชาชนต่อการชําระค่าปรับทางไปรษณีย์ : ศึกษากรณีสถานีตำรวจนครบาลสำเหร่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเล. (2564). รายงานประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: สถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเล.
สายชนม์ สัจจานิตย์. (2546). ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากรตามการรับรู้ของนักศึกษาที่ลาออกจากการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: กองบริการการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก. (2543). แผนหลักการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่ง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2555). คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, จาก https://www.tsd.police.go.th/page14%20-%203.2.html
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row. Publications.