การพัฒนาสื่อการสอนโดยใช้ AppSheet สาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อุทุมพร ไพสีขาว
วิทยา ทองดี
ประยูร แสงใส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการสอนโดยใช้ AppSheet กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ จำนวน 3 เรื่อง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนของสื่อการสอนโดยใช้ AppSheet กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ และ 3) ประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ของสื่อการสอนโดยใช้ AppSheet กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มีความพึงพอใจในระดับมาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล เขตพื้นที่การศึกษาหนองแขม มีจำนวนนักเรียน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อการสอนโดยใช้ AppSheet แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 4 ชุด และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบ
ค่าที (t – test) แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1) สื่อการสอนโดยใช้ AppSheet กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 6/3 เรื่องที่ 1 มีประสิทธิภาพ 83.00/84.50 เรื่องที่ 2 มีประสิทธิภาพ 85.50/89.00 เรื่องที่ 3 มีประสิทธิภาพ 86.50/87.50 และในภาพรวมทั้ง 3 เรื่อง มีประสิทธิภาพ 84.80/84.83 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้สื่อการสอนโดยใช้ AppSheet กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 6/3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ทั้ง 3 เรื่อง
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการสอนโดยใช้ AppSheet กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 6/3 อยู่ในระดับ ความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ไพสีขาว อ., ทองดี ว. ., & แสงใส ป. . (2022). การพัฒนาสื่อการสอนโดยใช้ AppSheet สาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(4), 338–349. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/255108
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ปังปอนด์ รักอํานวยกิจ และคณะ. (2563). ต้องปฏิรูประบบการเรียนรู้ พัฒนาเด็กให้คิดวิเคราะห์เป็นและมีจิตสาธารณะ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก http://www.knowledgefarm.in.th/interview-pungpond/.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2559). สอนเขียนแผนบูรณาการบนฐานเด็กเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). การศึกษาไทย 4.0 : การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ระพีพัฒน์ หาญโสภา และคณะ. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนร่มโพธิ์ทองธรรมวิทย์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ วัดวังตะวังตก, 5(11), 18-31.

วรัษฐา เสรีวิวัฒนา และคณะ. (2555). การพัฒนาแอพพลิเคชั่น วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องรูปสี่เหลี่ยมสำหรับระบบปฏิบัติการไอโอเอสบนอุปกรณ์แท็บเล็ต ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริวรรณ วงศ์สวัสดิ์. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระภูมิศาสตร์และมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการเรียนแบบซิปปาโมเดล (CIPPA MOEL) และการเรียน แบบร่วมมือโยใช้เทคนิค เอส ที่ เอ ดี (STAD). (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2534). คู่มือบริหารโรงเรียนการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.