ศึกษาการมีส่วนร่วมและการพึ่งตนเองในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาตามพระราชดำริใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในจังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการมีส่วนร่วมและการพึ่งตนเองในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในจังหวัดพะเยา ตามวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารและการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดพะเยา 2) ศึกษาผลกระทบกับการพัฒนาสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดพะเยา 3) ศึกษาแนวทางการพึ่งตนเองของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดพะเยา โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร รายงาน และแบบสอบถามประกอบในกลุ่มผู้ให้ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ จำนวน 200 รูป/คน ประกอบ ด้วย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดพะเยา จำนวน 50 คน กลุ่มครูผู้สอน ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา 50 รูป/คน กลุ่มผู้ปกครอง/ชุมชนท้องถิ่น จำนวน 100 รูป และเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methodology Research) เป็นการวิจัยเชิงประมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methodology Research) โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามมาประมวลวิเคราะห์หาค่า มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) จำนวน 40 ข้อ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ กับกลุ่มประชากรที่กำหนด มี ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง/ชุมชนส่วนท้องถิ่น จำนวน 200 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารการมีส่วนร่วมในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาของผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน/ชุมชนท้องถิ่น กลุ่มผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน/ชุมชนท้องถิ่น ด้านการบริหาร โดยจำแนกออกเป็น 4 ด้าน ตามความคิดของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (= 4.41) โดยด้านที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้น คือ ด้านการบริหารงานบุคคล (= 4.25) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับดี (= 4.47) โดยด้านที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้น คือ ด้านการบริหารงานบุคคล (= 4.35) และตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน/ชุมชนท้องถิ่น โดยรวม อยู่ในระดับดี (= 4.23) โดยด้านที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้น ได้แก่ด้านการบริหารงบประมาณ (= 3.73) ตามลำดับ
- 2. แนวทางสภาพการพึ่งตนเองในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามความคิดเห็นโดยภาพรวมของ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง/ชุมชนท้องถิ่น ทั้ง 4 ด้าน ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร โดยรวมสรุปทุกด้าน อยู่ในระดับ น้อย (=41) โดยด้านที่จะต้องปรับปรุงเพื่อพัฒนา ซึ่งอยู่ในระดับน้อย คือ ด้านการบริหารงานบุคคล (=2.25) ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอน โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับน้อย (=2.47) ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอน โดยรวมทุกด้าน โดยด้านจะต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการบริหารงานบุคคล (=2.35) และตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน/ชุมชนท้องถิ่น โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับน้อย (=2.23) โดยด้านจะต้องปรับปรุงพัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งอยู่ในระดับน้อย คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ (=2.03)
- 3. ผลกระทบต่อการพัฒนาและการพึ่งตนองในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ตามความคิดเห็นโดยภาพรวมของ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง/ชุมชนท้องถิ่น
4. ข้อเสนอแนะการพัฒนาและการพึ่งตนองในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา
Article Details
References
ทวีศักดิ์ แก้วพิพัฒน์. (2550). การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2535). การพัฒนาจริยธรรม สังคมวิทยามานุษยวิทยา ฉบับฉลองครบรอบ 25 ปี. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.
มะลิกามาศ เสงี่ยมแก้ว. (2550). ความคิดเห็นของบุคคลสำคัญที่มีความรู้ความสามารถด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ในประเทศอาฟริกาและสหรัฐอเมริกา.
ราตรี พูลพัฒน์. (2553). การมีส่วนร่วมของคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559). กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่สิบ “ฉบับใช้งาน” พ.ศ. 2550-2554, กรุงเทพมหานคร : สูตรไพศาล.
สุภางค์ จันทวานิช และวิศนี ศิลตระกูล. (2541). การพัฒนาเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตและสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).