แนวทางการบริหารหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อาทิตย์ แคเซอ
ปาริชาติ บัวเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มบริหารงานทั้ง 4 ด้าน ครูและบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการ และศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น 97 คนเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจับพบว่า
1) สภาพปัจจุบันการบริหารหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่โดยรวมมีสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การบริหารหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมมีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด
2) แนวทางการบริหารหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ด้านการบริหารวิชาการ มีการพัฒนาหลักสูตรตามแนวทางของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของหน่วยบริการ ด้านการบริหารงานบุคคล มีการจัดสรรตำแหน่งบุคลากรให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนในหน่วยบริการ ส่งเสริมให้บุคลากรมีการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ ด้านการบริหารงานทั่วไป มีการระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและอาคารเรียน ด้านการบริหารงานงบประมาณ หน่วยบริการมีส่วนร่วมในการวางแผน มีการสนับสนุนอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอน และมีการจัดทำแผนปฏิบัติงานการดำเนินงาน
3) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
แคเซอ อ. ., & บัวเจริญ ป. . (2023). แนวทางการบริหารหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 10(3), 59–76. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/264488
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษาพุทธศักราช 2552. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2560). พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. สืบค้นเมื่อ8 ธันวาคม 2565, จาก http://web1.dep.go.th/?q=th/node/446

ณรงค์ อภัยใจ. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาสโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ทัศพร ปูมสีดา. (2559). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยา สาส์น.

ผดุง อารยะวิญญู. (2542). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2542, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอน 123 ก, หน้า 16.

วารุณี จิรัญเวทย์. (2554). การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2565, จาก www.gotoknow.org/posts/283077.

วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2553). คุณภาพในงานบริการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่. (2565). สารสนเทศศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุรัญจิต วรรณนวล. (2549). การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด. (วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช). Digital Research Information Center.

เอกราช สุเต็ม. (2563). แนวทางการบริหารหน่วยบริการประจำอำเภอ กรณีศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำ จังหวัดน่าน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 138 -152.