แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิผลสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด

Main Article Content

พวงเพชร นรทีทาน
วิมลพร สุวรรณแสนทวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิผลสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด และ 2) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิผลสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67 – 1.00 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .93
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิผลสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิผลสถานศึกษา โดยรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นโดยรวมมีค่าเท่ากับ 0.35 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์การจัดการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการกำหนดเนื้อหาการจัดการเรียนการสอน และด้านการใช้สื่อการจัดการเรียนการสอน ต่ำสุดคือ
ด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
2. แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิผลสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ประกอบไปด้วย การจัดการเรียนการสอนตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ความยากง่ายของเนื้อหาปรับตามศักยภาพของผู้เรียนมีการใช้สื่อ นวัตกรรมที่ทันสมัย หลากหลาย เหมาะสมกับผู้เรียนการวัดผลและประเมินผลมีความหลากหลาย คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

Article Details

How to Cite
นรทีทาน พ., & สุวรรณแสนทวี ว. . (2023). แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิผลสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 10(3), 241–254. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/264368
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

เฉลิมพล ศรีรักษ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เชาวเรศ ใจทัด. (2559). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เมือง สุวรรณแสนทวี (2563). การบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยใช้หลักอิทธิบาท 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ฆนัท ธาตุทอง. (2559). หลักการจัดการเรียนรู้. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: เค เอ็ม พริ้นท์.

นวพร ธรรมกิจวัฒน์. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนสถานศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

พระดาว ปญฺญาธโร (มินวาน). (2560). แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรบัณฑิตศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รวิวรรณ พลทะกลาง, กฤตยากร ลดาวัลย์ และ วิมลพร สุวรรณแสนทวี. (2566). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 7(1), 103 - 114.

สมภพ ศรีพูล. (2560). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. (2565). สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2565, จาก http://www.secondary27.go.th

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.