พฤติกรรมของประชาชนในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ในอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ปภัชญา ยวนรัมย์
ชาญชัย ฮวดศรี
สุรพล พรมกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับพฤติกรรม การเปรียบเทียบพฤติกรรม และข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมของประชาชน โดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ในการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านใน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน จำนวน 397 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์และวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1) พฤติกรรมการใช้สิทธิ์เลือกผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอเกษตรสมบูรณ์จังหวัดชัยภูมิ ทั้ง 3 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 
2) ประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีพฤติกรรมของประชาชนในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 223 คน คิดเป็นร้อยละ 56.2% มีอายุระหว่าง 51 - 50 ปี จำนวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 26.7% อยู่ในระดับประถมศึกษาจำนวน 207 คน คิดเป็นร้อยละ 52.1% ส่วนประชาชนที่มี เพศ และ อาชีพ ต่างกันมีพฤติกรรมในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน
          3) ระดับพฤติกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านของประชาชน ในเขตอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิพบว่า พฤติกรรมการใช้สิทธิ์เลือกผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอเกษตรสมบูรณ์จังหวัดชัยภูมิ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านเกี่ยวกับการตัดสินใจไปเลือกผู้นำชุมชน 2. ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การเผยแผ่เกี่ยวกับการเลือกผู้นำชุมชน 3. ด้านมูลเหตุจูงใจต่อการไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกผู้นำชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.90) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่าด้านการตัดสินใจไปใช้สิทธิ์เลือกผู้นำชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (gif.latex?\bar{x}= 4.12) รองลงมาคือ ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (gif.latex?\bar{x}= 3.98) และด้านมูลเหตุจูงใจต่อการไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกผู้นำชุมชน (gif.latex?\bar{x}= 3.90) ตามลำดับ 4) ข้อเสนอแนะ พบว่า ด้านเกี่ยวกับการตัดสินใจไปเลือกผู้นำชุมชน ควรส่งเสริมให้เลือก โดยเป็นกลาง ด้านการติดตามข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้ง ควรส่งเสริมให้ประชาชนสนใจข่าวสารผู้นำชุมชนจากป้ายโฆษณา สื่อออนไลน์ ด้านมูลเหตุการจูงใจไปใช้สิทธิ ควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการการเลือก มีการประชุมเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามแผนในด้านกิจกรรมทางการเลือกตั้ง ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพฤติกรรมของประชาชนในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ควรส่งเสริมให้ประชาชนรู้และปฏิบัติหน้าที่ของตนเองตามข้อบังคับระเบียบกฎหมายในการเลือกผู้นำชุมชน

Article Details

How to Cite
ยวนรัมย์ ป. ., ฮวดศรี ช. ., & พรมกุล ส. . (2023). พฤติกรรมของประชาชนในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ในอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 10(3), 123–135. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/261478
บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2564). วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://kamnanphuyaibaan.com/

ประวิง คชาชีวะ และคณะ. (2549). รายงานการวิจัยปัญหาการจัดการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: รอยัลเพลแอนส์แพ็ค.

รัฐ กันภัย. (2558). การรับรู้ข่าวสารและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดภาคตะวันตกตอนล่าง. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(1), 1075-1088.

สำนักบริหารการปกครองท้องที่. (2457). ประวัติสำนักบริหารการปกครองท้องที่ราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457. สืบค้นวันที่ 18 มีนาคม 2565, จาก https://multi.dopa.go.th/pab/info_organ/about1

สำนักบริหารการปกครองท้องที่. (2551). ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน (2551). สืบค้นวันที่ 18 มีนาคม 2565, จาก https://multi.dopa.go.th/pab/info_organ/about8/topic68

สุรพงษ์ รุ่งวารินทร์. (2561). บทบาทด้านการปกครองของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรณีจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย, 10(1), 281-288.

อมรภัค ทับทิมทวีโชค และ เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์. (2565). การเลือกผู้ใหญ่บ้านและความพึงพอใจที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดชัยนาท. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ Thai Journal of Public Administration, 20(2), 23-52.