พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผู้นำ ทางการเมืองส่วนท้องถิ่นในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สัญญา ถี่ถ้วน
สุธิพงษ์ สวัสดิ์ทา
สุรพล พรมกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผู้นำทางการเมืองส่วนท้องถิ่นในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และศึกษาพฤติกรรมพร้อมทั้งศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชนที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผู้นำทางการเมืองส่วนท้องถิ่นในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น โดยการประยุกต์ตามหลักอคติ 4 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 21 รูป/คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพทั่วไปประชาชนให้ความสำคัญ สนใจ ติดตามสนับสนุน และให้ความร่วมมือโดยเป็นผู้สนับสนุนและประชาสัมพันธ์ข่าวสารการเลือกตั้ง
2) พฤติกรรมการเลือกตั้ง ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การประชาสัมพันธ์ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน และจากรถประชาสัมพันธ์ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ด้านมูลเหตุจูงใจ ผู้สมัครรับเลือกตั้งมีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนและอยากจะพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตน ในส่วนประชาชนมีมูลเหตุจูงใจจากความต้องการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งตัวแทนของตนเองเข้ามาบริหารเพื่อให้บ้านเมืองและท้องถิ่นของตน
3) การประยุกต์ใช้ตามหลักอคติ 4 กับพฤติกรรมการเลือกตั้ง ด้านฉันทาคติ ใช้สิทธิเพื่อสนับสนุนคนที่เราชื่นชมและมีความผูกพันสนิทสนมกัน ด้านโทสาคติ ใช้สิทธิเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงผู้บริหารเนื่องจากไม่ชอบคณะผู้บริหารชุดเดิม ด้านโมหาคติ ใช้สิทธิเพื่อคนที่เราชื่นชอบและมีความใกล้ชิดกัน ด้านภยาคติ ใช้สิทธิเพื่อรักษาสิทธิหน้าที่และกลัวที่จะไม่ได้รับการคุ้มครองในสวัสดิการ ทั้งนี้ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะให้ความรู้ความเข้าใจในหลักการทางนิติรัฐและนิติธรรมในการจะให้ประชาชนใช้วิจารณญาณในการเลือกตั้งตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

Article Details

How to Cite
ถี่ถ้วน ส., สวัสดิ์ทา ส., & พรมกุล ส. . (2023). พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผู้นำ ทางการเมืองส่วนท้องถิ่นในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 10(3), 102–110. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/260928
บท
บทความวิจัย

References

เกษม ฐิติสิทธา. (2561). อคติ 4 : หลักการบริหารจัดการของผู้นำ. วารสาร มจร. พุทธโสธรปริทรรศน์, 1(1), 85-99.

พิชัย เก้าสำราญ, สมเจตน์ นาคเสวี และ วรวิทย์ บารู. (2529). การเลือกตั้งปัตตานี ปี 2529 : ศึกษากรณีกระบวนการหาเสียงและระบบหัวคะแนน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2546). การบริหารและการจัดการเทศบาลในยุคปฏิรูปการเมือง. กรุงเทพฯ: โฟร์เพซ.

สุจิต บุญบงการ และ พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2527). พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของคนไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาฯ.